เมนู

เพราะถ้าเธอบำเพ็ญสาราณียธรรมในปีที่ 12 วางบาตรที่เต็มด้วยอาหาร
ไว้บนอาสนศาลา แล้วไปอาบน้ำ และพระสังฆเถระ มาถามว่า นี่บาตร
ของใคร ? เมื่อเขาตอบว่า บาตรของผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม ก็จะกล่าว
ว่า จงนำเอาบาตรนั้นมา แล้วเลือกฉันบิณฑบาตนั้น จนหมดทุกอย่าง
ตั้งบาตรเปล่าไว้. ครั้นภิกษุนั้นมาเห็นบาตรเปล่า ก็จะเกิดโทมนัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลายฉันเสียหมด ไม่เหลือไว้ให้เราเลย. สาราณียธรรมจะแตก ต้องบำเพ็ญ
ใหม่อีก 12 ปี คล้ายกับติตถิยปริวาส. ภิกษุนั้น เมื่อสาราณียธรรมด่างพร้อย
คราวเดียว ต้องบำเพ็ญใหม่อีก. ส่วนภิกษุใด เกิดโสมนัสว่า เป็นลาภของ
เราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เพื่อนสพรหมจารี ไม่สอบถามถึงอาหารที่อยู่ใน
บาตรของเราแล้วฉัน ดังนี้. สาราณียธรรม ของภิกษุนั้น ชื่อว่า สมบูรณ์แล้ว.
ก็ภิกษุผู้มีสาราณียธรรมบริบูรณ์อย่างนี้ ย่อมไม่มีความริษยา ไม่มีความตระหนี่
ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย หาปัจจัยได้ง่าย
แม้ของที่เขาถวายแก่เธอผู้มีสาราณียธรรมสมบูรณ์ ย่อมไม่สิ้นไป. เธอย่อม
ได้สิ่งของมีค่า ในฐานะที่เธอจำแนกแจกสิ่งของ เมื่อประสบภัย หรือความ
หิวโหย เทวดาทั้งหลายย่อมช่วยเหลือ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็น
ตัวอย่าง.

เรื่องพระติสสเถระ


เล่ากันมาว่า พระติสสเถระ ชาวเลณคิรีวิหาร อยู่อาศัยบ้านชื่อ
ว่ามหาขีระ. พระมหาเถระ 50 รูป เดินทางไปไหว้นาคทีปเจดีย์ เที่ยว-
บิณฑบาตในขีรคาม ไม่ได้อะไรเลย จึงพากันออกไป. พระติสสเถระเข้าไป
เห็นพระเถระเหล่านั้น จึงถามว่า ท่านขอรับ ท่านได้ (อาหาร) แล้วหรือ ?
พระเถระเหล่านั้นตอบว่า คุณพวกเราไปมาแล้ว. ท่านรู้ว่า พระเถระเหล่านั้น