เมนู

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำ
ออกไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหม-
จรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม 5 ประการนี้แล.
จบปฐมสาราณียสูตรที่ 1

สาราณิยาทิวรรคที่ 2


อรรถกถาปฐมสาราณียสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสาราณียสูตรที่ 1 แห่งสาราณียาทิวรรค
ที่ 2
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สาราณียา ได้แก่ ธรรมที่ควรให้ระลึกถึงกัน. บทว่า
เมตฺตํ กายกมฺมํ ได้แก่ กายกรรมที่พึงกระทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา.
แม้ในวจีกรรม และมโนกรรมทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็แลเมตตากายกรรมเป็นต้นเหล่านี้ ตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งภิกษุ-
ทั้งหลาย. แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย ก็นำไปใช้ได้. อธิบายว่า สำหรับภิกษุทั้งหลาย
การบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตร ด้วยเมตตาจิตชื่อว่า เมตตากายกรรม.
สำหรับคฤหัสถ์ทั้งหลาย กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การเดินทางไป เพื่อไหว้พระ-
เจดีย์ เพื่อไหว้โพธิพฤกษ์ เพื่อนิมนต์พระสงฆ์ การเห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้เข้า
ไปสู่บ้าน เพื่อบิณฑบาต แล้วลุกขึ้นต้อนรับ การรับบาตร การปูลาดอาสนะ
และการตามส่ง ชื่อว่า เมตตากายกรรม.

สำหรับภิกษุทั้งหลาย การบอกสอนอาจารบัญญัติ การบอกกรรม-
ฐาน การแสดงธรรม การบอกพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก (แก่
ภิกษุ สามเณร) ด้วยเมตตาจิต ชื่อว่า เมตตาวจีกรรม. สำหรับคฤหัสถ์
ทั้งหลาย ในเวลาที่กล่าวคำเป็นต้นว่า พวกเราจักไปเพื่อไหว้พระเจดีย์
พวกเราจักไปเพื่อไหว้โพธิพฤกษ์ พวกเราจักกระทำการฟังธรรม พวกเรา
จักกระทำการบูชาด้วยประทีป ระเบียบ และดอกไม้ พวกเราจักสมาทานซึ่ง
สุจริต 3 พวกเราจักถวายสลากภัตรเป็นต้น พวกเราจักถวายผ้าจำนำพรรษา
วันนี้พวกเราจักถวายปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ ท่านทั้งหลายจงนิมนต์พระสงฆ์แล้ว
จัดแจงของขบฉันเป็นต้น พวกท่านจงปูลาดอาสนะ พวกท่านจงตั้งน้ำดื่ม
พวกท่านจงต้อนรับนำพระสงฆ์มา พวกท่านจงให้พระสงฆ์นั่งบนอาสนะที่
ปูลาดแล้ว เกิดอุตสาหะ กระทำไวยาวัจกิจ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตาวจีกรรม.
สำหรับภิกษุทั้งหลาย การลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ กระทำการปฏิบัติสรีระก็ดี
กระทำวัตรที่ลานพระเจดีย์ เป็นต้นก็ดี นั่งบนอาสนะที่สงัดแล้วคิดว่า ภิกษุ
ทั้งหลายในวิหารนี้ จงมีความสุข ไม่มีเวร ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตามโน-
กรรม. สำหรับคฤหัสถ์ทั้งหลาย การคิดว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงอยู่
เป็นสุข ไม่มีเวร ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตามโนกรรม.
บทว่า อาวิ เจว รโห จ ความว่า ทั้งต่อหน้า และลับหลัง
ในสองอย่างนั้น การถึงความเป็นสหาย (การช่วยเหลือ) ในจีวรกรรมเป็นต้น
ของภิกษุใหม่ทั้งหลาย ชื่อว่า กายกรรมต่อหน้า. ส่วนวจีกรรมทุกอย่าง
แม้ต่างโดยการถวายน้ำล้างเท้าแก่พระเถระเป็นต้น ชื่อว่า กายกรรมต่อหน้า.
การช่วยเก็บงำ สิ่งของทั้งหลายมีฟืนเป็นต้น ที่ภิกษุใหม่และพระเถระ
ทั้งสองฝ่ายเก็บไว้ไม่เรียบร้อย ไม่ทำให้เสียหาย ในภัณฑะเหล่านั้น ดุจเก็บงำ
ของที่ตนเก็บไว้ไม่ดีให้เรียบร้อยฉะนั้น ชื่อว่า เมตตากายกรรมลับหลัง.

การกล่าวยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระ ท่านติสสเถระ ดังนี้ ชื่อว่า
เมตตาวจีกรรมต่อหน้า. ก็และเมื่อจะสอบถามถึงพระเถระผู้ไม่อยู่ในวิหาร
การกล่าวคำน่ารักอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระของเราไปไหน ท่านติสสเถระ
ของเราไปไหน เมื่อไรจักมาหนอ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตาวจีกรรมลับหลัง.
ส่วนการลืมตา อันสนิทสนมด้วยสิเนหา มองดูด้วยใบหน้าอันแจ่มใส
ชื่อว่า เมตตามโนกรรมต่อหน้า. การมุ่งดี (เอาใจช่วย) ว่า ขอท่าน
เทวเถระ ท่านติสสเถระ จงไม่มีโรค ไม่มีอาพาธ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตา-
มโนกรรมลับหลัง.

บทว่า ลาภา ได้แก่ ปัจจัยที่ได้มา มีจีวรเป็นต้น. บทว่า ธมฺมิกา
ได้แก่ ลาภที่เกิดขึ้นด้วยภิกขาจริยวัตรโดยธรรม สม่ำเสมอ โดยเว้นมิจฉา-
อาชีวะ ต่างโดยโกหก (หลอกลวง) เป็นต้น. บทว่า อนฺตมโส ปตฺต
ปริยาปนฺนมตฺตมฺปิ
ความว่า โดยที่สุดแม้เพียงภิกษา 2-3 ทัพพี ที่เนื่อง
แล้วในบาตร คืออยู่ติดกันบาตร.
ในบทว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี นี้ การแบ่งปันมี 2 อย่าง คือ
การแบ่งปันอามิส 1 การแบ่งปันบุคคล 1. ในสองอย่างนั้น การแบ่งปัน
โดยคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้เท่านี้ ไม่ให้เท่านี้ ดังนี้ ชื่อว่า แบ่งปันอามิส.
การแบ่งปัน โดยคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้แก่ภิกษุรูปโน้น ไม่ให้รูปโน้น ดังนี้
ชื่อว่า แบ่งปันบุคคล. ภิกษุผู้ไม่หวงลาภบริโภค โดยไม่กระทำทั้งสอง
อย่างนั้น ชื่อว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี.
ลักษณะของผู้บริโภคร่วมกัน ในบทว่า สีลวนฺเตหิ สพฺรหฺมจารีหิ
สาธารณโภคี
นี้ มีดังนี้ ภิกษุได้อาหารใด ๆ ที่ประณีต ไม่ยอมให้แก่คฤหัสถ์ทั้ง
หลายโดยมุ่งเอาลาภต่อลาภ (ทั้ง) ไม่บริโภคด้วยตนเอง และเมื่อจะรับ ก็รับด้วย

คิดว่า จงเป็นของสาธารณะกับหมู่สงฆ์ ย่อมเห็นเสมือนเป็นของสงฆ์ ที่จะต้อง
ตีระฆังให้มาบริโภคร่วมกัน. ถามว่า ก็ใครบำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ให้บริบูรณ์ได้
ใครไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ? ตอบว่า ผู้ทุศีล ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ไม่ได้ ก่อน
เพราะภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย จะไม่ยอมรับสิ่งของของผู้ทุศีลนั้น. ส่วนภิกษุผู้มีศีล
บริสุทธิ์ไม่ยอมให้วัตรด่างพร้อย ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้. ในการบำเพ็ญ
สาราณียธรรมให้บริบูรณ์ได้นั้น มีธรรมเนียม ดังนี้.
ก็ภิกษุใดตั้งใจให้ของแก่มารดาก็ดี แก่บิดาก็ดี แก่อาจารย์และ
อุปัชฌาย์เป็นต้นก็ดี ภิกษุนั้น (ชื่อว่า) ย่อมให้สิ่งที่ควรให้ (แก่คนที่ควรให้)
แต่ไม่ชื่อว่า มีสาราณียธรรม มีแต่เพียงการปฏิบัติผู้ที่ควรห่วงใย. เพราะว่า
สาราณียธรรม ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่พ้นจากปลิโพธิ (ความห่วงใย) แล้ว.
ก็ผู้ที่จะบำเพ็ญสาราณียธรรมนั้น เมื่อจะให้โดยเจาะจง ควรให้แก่ภิกษุไข้
ผู้พยาบาลภิกษุไข้ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง และภิกษุ
ผู้บวชใหม่ ยังไม่รู้การรับสังฆาฏิ และการรับบาตร ครั้นให้แก่ภิกษุเหล่านี้แล้ว
ยังมีของเหลือ นับจำเดิมแต่อาสนะแห่งพระเถระไป ภิกษุใดจะรับเท่าใด
ควรให้ภิกษุนั้น เท่านั้น โดยไม่ให้องค์ละเล็กละน้อย. เมื่อไม่มีของเหลือ
ออกไปบิณฑบาตอีก ควรให้ส่วนที่ประณีตนั้น ๆ จำเดิมแต่อาสนะแห่งพระ-
เถระไป (ตัวเอง) บริโภคส่วนที่เหลือ.
เพราะมีพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ ดังนี้ ถึงจะไม่ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลก็ควร.
ก็สาราณียธรรมนี้ บำเพ็ญได้ง่าย ในบริษัทที่ศึกษาดีแล้ว เพราะในหมู่บริษัท
ที่ศึกษาดีแล้ว ภิกษุใดได้ (อาหาร) มาจากที่อื่น ภิกษุนั้นจะไม่ยอมรับ
ถึงแม้จะไม่ได้มาจากที่อื่น ก็จะรับแต่พอประมาณเท่านั้น ไม่รับจนเหลือเพื่อ.
ก็สาราณียธรรมนี้ เมื่อภิกษุจะให้ของที่ตนไปบิณฑบาตได้มาบ่อย ๆ อย่างนี้
จะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ ต้องใช้เวลา 12 ปี ต่ำกว่านั้นบริบูรณ์ไม่ได้.

เพราะถ้าเธอบำเพ็ญสาราณียธรรมในปีที่ 12 วางบาตรที่เต็มด้วยอาหาร
ไว้บนอาสนศาลา แล้วไปอาบน้ำ และพระสังฆเถระ มาถามว่า นี่บาตร
ของใคร ? เมื่อเขาตอบว่า บาตรของผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม ก็จะกล่าว
ว่า จงนำเอาบาตรนั้นมา แล้วเลือกฉันบิณฑบาตนั้น จนหมดทุกอย่าง
ตั้งบาตรเปล่าไว้. ครั้นภิกษุนั้นมาเห็นบาตรเปล่า ก็จะเกิดโทมนัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลายฉันเสียหมด ไม่เหลือไว้ให้เราเลย. สาราณียธรรมจะแตก ต้องบำเพ็ญ
ใหม่อีก 12 ปี คล้ายกับติตถิยปริวาส. ภิกษุนั้น เมื่อสาราณียธรรมด่างพร้อย
คราวเดียว ต้องบำเพ็ญใหม่อีก. ส่วนภิกษุใด เกิดโสมนัสว่า เป็นลาภของ
เราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เพื่อนสพรหมจารี ไม่สอบถามถึงอาหารที่อยู่ใน
บาตรของเราแล้วฉัน ดังนี้. สาราณียธรรม ของภิกษุนั้น ชื่อว่า สมบูรณ์แล้ว.
ก็ภิกษุผู้มีสาราณียธรรมบริบูรณ์อย่างนี้ ย่อมไม่มีความริษยา ไม่มีความตระหนี่
ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย หาปัจจัยได้ง่าย
แม้ของที่เขาถวายแก่เธอผู้มีสาราณียธรรมสมบูรณ์ ย่อมไม่สิ้นไป. เธอย่อม
ได้สิ่งของมีค่า ในฐานะที่เธอจำแนกแจกสิ่งของ เมื่อประสบภัย หรือความ
หิวโหย เทวดาทั้งหลายย่อมช่วยเหลือ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็น
ตัวอย่าง.

เรื่องพระติสสเถระ


เล่ากันมาว่า พระติสสเถระ ชาวเลณคิรีวิหาร อยู่อาศัยบ้านชื่อ
ว่ามหาขีระ. พระมหาเถระ 50 รูป เดินทางไปไหว้นาคทีปเจดีย์ เที่ยว-
บิณฑบาตในขีรคาม ไม่ได้อะไรเลย จึงพากันออกไป. พระติสสเถระเข้าไป
เห็นพระเถระเหล่านั้น จึงถามว่า ท่านขอรับ ท่านได้ (อาหาร) แล้วหรือ ?
พระเถระเหล่านั้นตอบว่า คุณพวกเราไปมาแล้ว. ท่านรู้ว่า พระเถระเหล่านั้น