เมนู

อรรถกถามหานามสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมหานามสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหานาโม ได้แก่เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ผู้เป็นพระราชโอรส
แห่งพระเจ้าอาของพระทศพล. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความ
ว่า ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ห้อมล้อมไปด้วยทาสและบริวารชน
ให้คนถือเอาของหอมและระเบียบเป็นต้น แล้วได้เสด็จไปในที่ที่พระบรมศาสดา
ประทับอยู่. (พระอริยสาวก) ชื่อว่า อาคตผโล เพราะมีอริยผลมาถึงแล้ว.
ชื่อว่า วิญฺญาตสาสโน เพราะมีคำสอนคือสิกขา 3 อันท่านรู้แจ้งแล้ว.
พระราชา (เจ้าศากยะพระนามว่า มหานาม) นี้ เมื่อจะทูลถามว่า ข้าพระองค์
ทูลถามถึงวิหารธรรมอันเป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ดังนี้จึงกราบทูลอย่างนี้.
บทว่า เนวสฺส ราคปริยุฏฺฐิตํ ความว่า (จิตของพระอริยสาวก-
นั้น) ไม่ถูกราคะที่เกิดขึ้น รุมรึงไว้. บทว่า อุชุคตํ ความว่า (จิตของพระ-
อริยสาวกนั้น ) ดำเนินตรงไป ในพุทธานุสติกัมมัฏฐาน. บทว่า ตถาคตํ
อารพฺภ
ได้แก่ปรารภพระคุณของพระตถาคตเจ้า.
บทว่า อตฺถเวทํ ได้แก่ปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้น อาศัยอรรถกถา.
บทว่า ธมฺมเวทํ ได้แก่ปีติและปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นอาศัยบาลี. บทว่า
ธมฺมูปสญฺหิตํ ได้แก่ปีติและปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นอาศัยทั้งพระบาลี และ
อรรถกถา. บทว่า ปมุทิตสฺส ความว่า แก่ผู้ที่ปราโมทย์แล้ว ด้วยความ
ปราโมทย์ 2 อย่าง. บทว่า ปีติ ชายติ ความว่า ปีติ 5 อย่าง ย่อม
บังเกิด. บทว่า กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งกรชกายย่อม
สงบระงับ ด้วยธรรมเป็นเครื่องสงบระงับซึ่งความกระวนกระวาย. บทว่า

สมาธิยติ ความว่า ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ ในอารมณ์. บทว่า วิสมคตาย
ปชาย
ความว่า ในสัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความไม่สงบ เพราะราคะ โทสะและ
โมหะ. บทว่า สมปฺปตฺโต ความว่า เป็นผู้ถึงความสงบ สม่ำเสมอ. บทว่า
สพฺยาปชฺฌาย แปลว่า ผู้มีทุกข์ร้อน. บทว่า ธมฺมโสตํ สมาปนฺโน
ความว่า เป็นผู้ถึงกระแสธรรมกล่าวคือ วิปัสสนา.
บทว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวติ ความว่า ย่อมเพิ่มพูน คือเจริญ
พุทธานุสติกัมมัฏฐาน. ในบททั้งปวง พึงทราบความโดยนัยนี้. เจ้าศากย-
มหานามะทูลถามถึงวิหารธรรม เป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ด้วยประการดัง
พรรณนามาฉะนี้. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสวิหารธรรมเป็นที่อาศัย ของพระ
โสดาบันนั้นแหละ แก่ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้. ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอัน
ตรัสถึงพระโสดาบันอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหานามสูตรที่ 10
จบอาหุเนยยวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมอาหุเนยยสูตร 2. ทุติยอาหุเนยยสูตร 3. อินทริยสูตร
4. พลสูตร 5. ปฐมอาชีนิยสูตร 6. ทุติยอาชานิยสูตร 7. ตติยอาชา-
นิยสูตร 8. อนุตตริยสูตร 9. อนุสสติสูตร 10. มหานามสูตร และ
อรรถกถา.