เมนู

9. อนุสสติสูตร


ว่าด้วยอนุสติ 6


[280] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสติฐานะ ที่ตั้งแห่งความระลึก
6 นี้ อนุสติฐานะ 6 เป็นไฉน ? คือ พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า 1
ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม 1 สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ 1 สีลา-
นุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา 1 จาคานุสติ ระลึกถึงการบริจาคของตน 1
เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา และธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา 1 นี้แล ภิกษุทั้งหลาย
อนุสติฐานะ 6.
จบอนุสสติสูตรที่ 9

อรรถกถาอนุสสติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุสสติสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พุทฺธานุสฺสติ ได้แก่ อนุสติ มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์
แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาอนุสสติสูตรที่ 9

10. มหานามสูตร


ว่าด้วยอนุสติของพระอริยสาวก


[281] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ
ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญอริยสาวกผู้ได้บรรลุ ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม
ชนิดไหนเป็นส่วนมาก พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล
ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวก
ในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนือง ๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึง
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อม
ระลึกถึงพระตถาคตเนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรง
ทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้
ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อน