เมนู

อรรถกถาทุติยอาชานิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอาชานิยสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พลสมฺปนฺโน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย.
จบอรรถกถาทุติยอาชานิยสูตรที่ 6

7. ตติยอาชานิยสูตร


ว่าด้วยองค์ธรรมของม้าอาชาไนยและของภิกษุ


[278] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา
ประกอบด้วยองค์ 6 ประการ ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็น
ราชพาหนะ องค์ 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา
ในโลกนี้ ย่อมอดทนต่อรูป 1 อดทนต่อเสียง 1 อดทนต่อกลิ่น 1 อดทน
ต่อรส 1 อดทนต่อโผฏฐัพพะ 1 ถึงพร้อมด้วยฝีเท้า 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบด้วยองค์ 6 ประการนี้แล ย่อมควร
แก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ
อื่นยิ่งกว่า ธรรม 6 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอดทน
ต่อรูป 1 อดทนต่อเสียง 1 อดทนต่อกลิ่น 1 อดทนต่อรส 1 อดทนต่อ
โผฏฐัพพะ 1 อดทนต่อธรรมารมณ์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
จบตติยอาชานิยสูตรที่ 7

อรรถกถาตติยอาชานิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในตติยอาชานิยสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า.
จบอรรถกถาตติยอาชานิยสูตรที่ 7

8. อนุตตริยสูตร


ว่าด้วยอนุตริยะ 6


[279] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ (สิ่งยอดเยี่ยม) 6 นี้ อนุตริยะ
6 เป็นไฉน ? คือ ทัศนานุตริยะ (การเห็นยอดเยี่ยม) สวนานุตริยะ (การ
ฟังยอดเยี่ยม) ลาภานุตริยะ (การได้ยอดเยี่ยม) สิกขานุตริยะ (การศึกษา
ยอดเยี่ยม) ปาริจริยานุตริยะ (การปรนนิบัติอันยอดเยี่ยม) อนุสตานุตริยะ
(การระลึกยอดเยี่ยม). นี้แล ภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ 6.
จบอนุตตริยสูตรที่ 8