เมนู

มโนรถปูรณี


อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต


ปฐมปัณณาสก์


อาหุเนยยวรรคที่ 1


อรรถกถาปฐมอาหุเนยยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอาหุเนยยสูตรที่ 1 แห่งฉักกนิบาตดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในศาสนานี้. บทว่า เนว สุมโน โหติ น ทุมฺมโน ความว่า ย่อมเป็น
ผู้ไม่ดีใจในเพราะอิฏฐารมณ์ ด้วยโสมนัสอันสหรคตด้วยราคะ หรือย่อมเป็น
ผู้ไม่เสียใจในเพราะอนิฏฐารมณ์ ด้วยโทมนัส อันสหรคตด้วยโทสะ. บทว่า
อุเปกฺขโก วิหรติ สโต สมฺปชาโน ความว่า ไม่ถึงความเป็นผู้วางเฉย
ด้วยอุเบกขาที่ไม่มีญาณ โดยไม่พิจารณา ในมัชฌัตตารมณ์ ชื่อว่า เป็นผู้มี
สติสัมปชัญญะ มีใจเป็นกลางอยู่ในอารมณ์. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิจของพระขีณาสพไว้แล้ว.
จบอรรถกถาปฐมอาหุเนยยสูตรที่ 1

2. ทุติยอาหุเนยยสูตร


ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ


[273] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นผู้ควรของต้อนรับ ฯลฯ เป็นหาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียว
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ใน
แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะ
ไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ
มากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
เธอย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่
ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.
เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ
ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ
ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู
ก็รู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่า จิต
เป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตไม่มีจิตอื่น
ยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่น