เมนู

อรรถกถาอังคิกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอังคิกสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อริยสฺส ได้แก่ อยู่ไกลจากกิเลสที่ละได้แล้วด้วยวิกขัมภน-
ปหาน (การข่มไว้). บทว่า ภาวนํ เทเสสฺสามิ ความว่า เราจักประกาศความ
เพิ่มพูนการพัฒนา. บทว่า อิมเมว กายํ ได้แก่ กรชกายนี้. บทว่า อภิสนฺเทติ
ได้แก่ ชุ่ม คือ ซึมซาบ คือ ทำปีติและสุขให้เป็นไปทั่วกรชกาย. บทว่า
ปริสนฺเทติ ได้แก่ ไหลไปโดยรอบ. บทว่า ปริปูเรติ ได้แก่ เต็มดุจ
ถุงหนังเต็มด้วยลม. บทว่า ปริปฺผรติ ได้แก่ ซ่านไปโดยรอบ. บทว่า
สพฺพาวโต กายสฺส ได้แก่ ร่างกายทุกส่วนของภิกษุนั้น. ที่ไร ๆ แม้แต่ ่
น้อยแล่นไปตามผิวเนื้อและเลือด ในที่เป็นไปแห่งสันตติของอุปปาทินนกะ
(สิ่งมีใจครอง) ชื่อว่า สุขอันเกิดแต่ปฐมฌาน ไม่สัมผัสไม่มี. บทว่า ทกฺโข
ได้แก่ ฉลาด คือ มีความสามารถทำประกอบและปรุงผงสำหรับอาบน้ำ. บทว่า
กํสถาเล ได้แก่ ภาชนะที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง. แต่ภาชนะทำด้วย
ดินไม่ถาวร เมื่อใส่ผงอาบน้ำย่อมแตกได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงไม่ทรงแสดงภาชนะดินนั้น. บทว่า ปริปฺโผสกํ ปริปฺโผสกํ ได้แก่
รดแล้วรดเล่า. บทว่า สนฺเนยฺย ได้แก่ ถือถาดสำริดด้วยมือซ้ายรดราด
น้ำพอประมาณด้วยมือขวา แล้วขยำผงทำให้เป็นก้อน. บทว่า สิเนหานุคตา
ได้แก่ ถูกยางน้ำซึมซาบ. บทว่า สิเนหปเรตา ได้แก่ ถูกยางน้ำซึมไปรอบๆ.
บทว่า สนฺตรพาหิรา ความว่า ถูกยางน้ำซึมซาบไปทั่งสรรพางค์กายทั้งที่
ภายในและที่ภายนอก. บทว่า น จ ปคฺฆรติ ความว่า หยาดน้ำแต่ละหยาด
จะไม่ไหลออก อาจจะจับทั้งมือก็ได้ 2 นิ้วก็ได้ ทำให้เป็นเกลียวก็ได้.

พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาความสุขในทุติยฌาน. บทว่า อุพฺภิโตทโก ได้แก่
น้ำพุ คือ น้ำที่ไม่ไหลลงข้างล่างแต่ไหลขึ้น อธิบายว่า น้ำเกิดภายในนั่นเอง.
บทว่า อายมุขํ ได้แก่ ทางน้ำไหลมา. บทว่า เทโว ได้แก่ เมฆ. บทว่า
กาเลน กาลํ ได้แก่ ทุกกึ่งเดือนหรือทุก 10 วัน. บทว่า ธารํ ได้แก่
น้ำฝน. บทว่า นานุปฺปเวจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงหลั่ง คือ ไม่พึงตก.
บทว่า สีตา วาริธารา อุพฺภิชฺชิตฺวา ความว่า สายน้ำฝนทำห้องน้ำเย็น
ให้เต็ม ก็น้ำที่เกิดขึ้นแล้วไหลลงเบื้องล่าง ย่อมทำน้ำที่พุ่งแตกให้กระเพื่อม
น้ำที่ไหลมาจาก 4 ทิศ ย่อมทำน้ำให้กระเพื่อมด้วยใบไม้ หญ้า ฟืน ท่อนไม้
เก่า ๆ เป็นต้น น้ำฝนย่อมทำให้น้ำกระเพื่อมด้วยฟองน้ำที่ไหลตกจากสายน้ำฝน
แต่น้ำสงบดุจเนรมิตด้วยฤทธิ์ ไหลไปยังถิ่นนี้ ไม่ไหลไปยังถิ่นนี้ ดังนี้ไม่มี
คือ ชื่อว่าโอกาสที่น้ำมันจะไม่ถูกต้องไม่มี. ในอุปมานั้น กรชกายดุจห้วงน้ำ
ความสุขในทุติยฌานดุจน้ำ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในข้ออุปมา ความสุขในตติยฌาน. ชื่อว่า อุปฺปลินี
เพราะว่า มีดอกอุบล. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในอุปมานี้
บรรดาบัวขาว บัวแดง บัวขาบ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อ อุบลทั้งนั้น
บัวมีใบเกิดขึ้น 100 ใบ ชื่อปุณฑริก บัวมีใบ 100 ใบ ชื่อ ปทุม บัวที่
กำหนดใบหรือแม้ไม่มีใบบัวสีขาว ชื่อปทุม สีแดงชื่อปุณฑริก นี้เป็นวินิจฉัย
ในอุปมานี้. บทว่า อุทกานุคฺคตานิ ได้แก่ บัวยังไม่พ้นจากน้ำ. บทว่า
อนฺโตนิมุคฺคโปสินี ได้แก่ บัวที่จมอยู่ภายในพื้นน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
คือยังเจริญอยู่. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาความสุขในจตุตถฌาน. ในบทว่า ปริสุทฺเธน
เจตสา ปริโยทาเตน
นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะอรรถว่า
ไม่มีอุปกิเลส ชื่อว่า ผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่า ผ่องใส. บทว่า โอทาเตน

วตฺเถน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงความแผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิเพราะ
ผ้าสกปรกจะไม่มีการแผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิ ผ้าสะอาดที่ซักในขณะนั้น การ
แผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิย่อมมีกำลัง. ก็ด้วยอุปมานี้ กรชกายดุจผ้า สุขในจตุตถ-
ฌาน ดุจการแผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิ เพราะฉะนั้น เมื่อบุรุษอาบน้ำชำระ
กายดีแล้ว นั่งคลุมผ้าสะอาดตลอดศีรษะ อุณหภูมิย่อมแผ่ซ่านไปทั่วผ้าจาก
สรีระ ไม่มีช่องว่างไร ๆ ที่ผ้าจะไม่ถูกต้องฉันใด ไม่มีช่องว่างไร ๆ ที่กรชกาย
ของภิกษุจะไม่ถูกต้องด้วยสุขในจตุตถฌาน ฉันนั้น พึงเห็นความในอุปมานี้ด้วย
ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง จิตในจตุตถฌานเท่านั้น ดุจผ้า รูปอันมีจิตใน
จตุตถฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน ดุจการแผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิ พึงเห็นความใน
อุปมานี้อย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อผ้าขาวแม้ไม่ถูกต้องกายในส่วนไหน ๆ
อุณหภูมิอันมีกายนั้นเป็นสมุฏฐานเป็นอันถูกต้องกายทุกแห่งแล ฉันใด สุขุม-
รูป อันมีจตุตถฌานเป็นสมุฏฐาน เป็นอันถูกต้องกายของภิกษุทุกแห่งฉันนั้นแล.
บทว่า ปจฺจเวกฺขณนิมิตฺตํ ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณนั่นเอง. บทว่า
สุคฺคหิตํ โหติ ความว่า ฌานวิปัสสนาและมรรคเป็นธรรม อันภิกษุนั้น
ถือเอาแล้วด้วยดี ฉันใด ปัจจเวกขณนิมิตก็เป็นข้ออันภิกษุนั้นถือเอาแล้ว
ด้วยดี ด้วยปัจจเวกขณนิมิตต่อ ๆ นั่นเอง ฉันนั้น. บทว่า อญฺโญวา อญฺญํ
ได้แก่ คนอื่นคนหนึ่ง พิจารณาดูคนอื่นคนหนึ่ง. เพราะตนย่อมไม่ปรากฏแก่
ตนเอง. บทว่า ฐิโต วา นิสินฺนํ ได้แก่ คนนั่งย่อมปรากฏแม้แก่คนยืน.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้อย่างนี้. แม้ไนบทที่เหลือก็นัยนี้
เหมือนกัน.
บทว่า อุทกมณิโก ได้แก่ อ่างน้ำมีสายรัด. บทว่า สมติตฺติโก
แปลว่า เต็มเปี่ยม. บทว่า กากเปยฺยา ได้แก่ กาจับที่ชอบปากไม่ต้องก้มคอ
ก็ดื่มได้ บทว่า สุภูมิยํ ได้แก่ พื้นเรียบ. ก็พื้นที่สะอาด ชื่อว่า พื้นเรียบ

มาในบาลีนี้ว่า บุคคลพึงปลูกพืชทั้งหลายที่พื้นที่ดี ที่นาดี ที่ปราศจากคอ.
บทว่า จาตุมฺมหาปเถ ได้แก่ ในที่ทางใหญ่สองสายผ่านแยกกันไป. บทว่า
อาชญฺญรโถ ได้แก่ รถเทียมด้วยม้าที่ฝึกแล้ว. บทว่า โอสตปโฏโท
ความว่า ปฏักที่ห้อย ตั้งขวางไว้โดยอาการที่สารถีขึ้นรถยืนอยู่ สามารถถือ
เอาได้. บทว่า โยคฺคาจริโย แปลว่า อาจารย์ฝึกม้า. ชื่อว่า อสฺสทมฺม-
สารถิ
(สารถีผู้ฝึกม้า) เพราะอาจารย์ฝึกม้านั้นแหละ ยังม้าที่ฝึกให้วิ่งไป.
บทว่า เยนิจฺฉกํ ได้แก่ ปรารถนาจะไปโดยทางใด ๆ. บทว่า ยทิจฺฉกํ
ได้แก่ ประสงค์การไปใด ๆ. บทว่า สาเรยฺย ได้แก่ ขับตรงไปข้างหน้า.
บทว่า ปจฺจาสาเรยย ได้แก่ พึงขับกลับ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัส
สมาปัตติบริกรรมด้วยองค์ 5 ในภายหลังอย่างนี้แล้วทรงแสดงอานิสงส์แห่ง
สมาบัติอันคล่องแคล่วด้วยอุปมา 3 เหล่านี้ บัดนี้ เพื่อทรงแสดงลำดับแห่ง
อภิญญาของพระขีณาสพ จึงตรัสคำมีอาทิว่า โส สเจ อากงฺขติ ดังนี้.
คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอังคิกสูตรที่ 8

9. จังกมสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการจงกรม 5 ประการ


[29] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล 1
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร 1 ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย 1 อาหาร