เมนู

อรรถกถาอังคิกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอังคิกสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อริยสฺส ได้แก่ อยู่ไกลจากกิเลสที่ละได้แล้วด้วยวิกขัมภน-
ปหาน (การข่มไว้). บทว่า ภาวนํ เทเสสฺสามิ ความว่า เราจักประกาศความ
เพิ่มพูนการพัฒนา. บทว่า อิมเมว กายํ ได้แก่ กรชกายนี้. บทว่า อภิสนฺเทติ
ได้แก่ ชุ่ม คือ ซึมซาบ คือ ทำปีติและสุขให้เป็นไปทั่วกรชกาย. บทว่า
ปริสนฺเทติ ได้แก่ ไหลไปโดยรอบ. บทว่า ปริปูเรติ ได้แก่ เต็มดุจ
ถุงหนังเต็มด้วยลม. บทว่า ปริปฺผรติ ได้แก่ ซ่านไปโดยรอบ. บทว่า
สพฺพาวโต กายสฺส ได้แก่ ร่างกายทุกส่วนของภิกษุนั้น. ที่ไร ๆ แม้แต่ ่
น้อยแล่นไปตามผิวเนื้อและเลือด ในที่เป็นไปแห่งสันตติของอุปปาทินนกะ
(สิ่งมีใจครอง) ชื่อว่า สุขอันเกิดแต่ปฐมฌาน ไม่สัมผัสไม่มี. บทว่า ทกฺโข
ได้แก่ ฉลาด คือ มีความสามารถทำประกอบและปรุงผงสำหรับอาบน้ำ. บทว่า
กํสถาเล ได้แก่ ภาชนะที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง. แต่ภาชนะทำด้วย
ดินไม่ถาวร เมื่อใส่ผงอาบน้ำย่อมแตกได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงไม่ทรงแสดงภาชนะดินนั้น. บทว่า ปริปฺโผสกํ ปริปฺโผสกํ ได้แก่
รดแล้วรดเล่า. บทว่า สนฺเนยฺย ได้แก่ ถือถาดสำริดด้วยมือซ้ายรดราด
น้ำพอประมาณด้วยมือขวา แล้วขยำผงทำให้เป็นก้อน. บทว่า สิเนหานุคตา
ได้แก่ ถูกยางน้ำซึมซาบ. บทว่า สิเนหปเรตา ได้แก่ ถูกยางน้ำซึมไปรอบๆ.
บทว่า สนฺตรพาหิรา ความว่า ถูกยางน้ำซึมซาบไปทั่งสรรพางค์กายทั้งที่
ภายในและที่ภายนอก. บทว่า น จ ปคฺฆรติ ความว่า หยาดน้ำแต่ละหยาด
จะไม่ไหลออก อาจจะจับทั้งมือก็ได้ 2 นิ้วก็ได้ ทำให้เป็นเกลียวก็ได้.