เมนู

พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค*


ว่าด้วยคุณธรรมและประเภทธรรมต่าง ๆ


[251] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ 1 ประกอบด้วยสมาธิขันธ์
อันเป็นของพระอเสขะ 1 ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ 1
ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ 1 ประกอบด้วยวิมุตติญาณ-
ทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย
ธรรม 5 ประกายนี้แล พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้.
[252] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
พึงให้นิสัยได้ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุตติญาณ-
ทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย
ธรรม 5 ประการนี้แล พึงให้นิสัยได้.
[253] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุตติ-
ญาณทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 5 ประการนี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้.
* อรรถกถาแก้ไว้ท้ายวรรคนี้.

[254] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ 1 ความตระหนี่สกุล (อุปัฏฐาก) 1
ความตระหนี่ลาภ 1 ความตระหนี่วรรณะ 1 ความตระหนี่ธรรม 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ 5 ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
ความตระหนี่ 5 ประการนี้ ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม.
[255] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ
เพื่อตัดขาดความตระหนี่ 5 ประการ ความตระหนี่ 5 ประการเป็นไฉน ?
คือ ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ที่อยู่ 1
เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่สกุล 1 เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่
ลาภ 1 เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่วรรณะ 1 เพื่อละ เพื่อตัดขาด
ความตระหนี่ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ
เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ 5 ประการนี้แล.
[256] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการ ไม่ควร
เพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือความตระหนี่ที่อยู่ 1
ความตระหนี่สกุล 1 ความตระหนี่ลาภ 1 ความตระหนี่วรรณะ 1 ความ
ตระหนี่ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการนี้แล ไม่
ควรบรรลุปฐมฌาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5 ประการ ควรเพื่อ
บรรลุปฐมฌาน ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ 1
ความตระหนี่สกุล 1 ความตระหนี่ลาภ 1 ความตระหนี่วรรณะ 1 ความ
ตระหนี่ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 4 ประการนี้แล ควร
บรรลุปฐมฌาน.
[257] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการ ไม่ควร
เพื่อบรรลุทุติยฌาน. . . ตติยฌาน. . . จตุตถฌาน. . . ไม่ควรเพื่อทำให้

แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. . . สกทาคามิผล. . . อนาคามิผล . . . อรหัตผล ธรรม
5 ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ 1 ความตระหนี่สกุล 1 ความ
ตระหนี่ลาภ 1 ความตระหนี่วรรณะ 1 ความตระหนี่ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง
อรหัตผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5 ประการ ควรเพื่อกระทำ
ให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่
ฯลฯ ความตระหนี่ธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5 ประการนี้แล
ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.
[258] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการ ไม่ควร
เพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ 1
ความตระหนี่สกุล 1 ความตระหนี่ลาภ 1 ความตระหนี่วรรณะ 1 ความ
เป็นคนอกตัญญูกตเวที 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการ
นี้แล ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5 ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐม-
ฌาน ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ 1 ความตระหนี่
สกุล 1 ความตระหนี่ลาภ 1 ความตระหนี่วรรณะ 1 ความเป็นคนอกตัญญู-
กตเวที 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5 ประการนี้แล ควรเพื่อ
บรรลุปฐมฌาน.
[259] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการ ไม่ควรเพื่อ
บรรลุทุติยฌาน. . . ตติยฌาน. . . จตุตถฌาน. . . ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล. . . สกทาคามิผล. . . อนาคามิผล. . . อรหัตผล ธรรม 5
ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ 1 ความตระหนี่สกุล 1 ความ
ตระหนี่ลาภ 1 ความตระหนี่วรรณะ 1 ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที 1

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งอรหัตผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5 ประการ ควรเพื่อทำให้
แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ
ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5 ประการ
นี้แล ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.
[260] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ลำเอียง
เพราะรัก 1 ลำเอียงเพราะชัง 1 ลำเอียงเพราะหลง 1 ลำเอียงเพราะกลัว 1
ย่อมไม่รู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้ว และยังไม่ได้นิมนต์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึง
สมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ลำเอียงเพราะ
รัก 1 ไม่ลำเอียงเพราะชัง 1 ไม่ลำเอียงเพราะหลง 1 ไม่ลำเอียงเพราะกลัว 1
ย่อมรู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์.
[261] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ แม้สมมติแล้วก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ สมมติ
แล้วก็พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม
5 ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุ-
เทสก์ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนนำมาโยนลง

ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือน
เชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก 1
ไม่ลำเอียงเพราะชัง 1 ไม่ลำเอียงเพราะหลง 1 ไม่ลำเอียงเพราะกลัว 1 ย่อม
รู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุภัตตุเทสก์
ผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมา
ประดิษฐานไว้.
[262] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ผู้ปูลาดเสนาสนะ. . . ไม่รู้เสนาสนะ
ที่ได้ปูลาดแล้วและยังไม่ได้ปูลาด. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย
ธรรม 5 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ. . . ย่อมรู้เสนาสนะ
ที่ได้ปูลาดแล้วและยังไม่ได้ปูลาด. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ภิกษุถือเสนาสนะ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ
. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นภัณฑาคาริก ผู้รักษาเรือนคลัง. . . ย่อมไม่รู้ภัณฑะที่เก็บแล้ว
และยังไม่ได้เต็ม. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัณฑาคาริก. . .ย่อมรู้ภัณฑะที่ได้เก็บแล้วและยังไม่ได้เก็บ
. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ผู้รับจีวร. . . ย่อมไม่รู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้
รับ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึง
สมมติให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ. . .ย่อมรู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นจีวรภาชกะ ผู้แจกจีวร. . .ไม่รู้จีวรที่ได้แจกแล้วและยังไม่ได้แจก
. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึงสมมติ
ให้เป็นจีวรภาชกะ. . .ย่อมรู้จีวรที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นยาคุภาชกะ ผู้แจกข้าวยาคู. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นยาคุภาชกะ. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นผลภาชกะ ผู้แจกผลไม้. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผลภาชกะ. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นขัชชกภาชกะ ผู้แจกของขบเคี้ยว. . . ย่อมไม่รู้ของขบเคี้ยวที่แจก
แล้วและยังไม่ได้แจก. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5
ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นขัชชกภาชกะ. . .ย่อมรู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้ว
และยังไม่ได้แจก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย. . .ย่อมไม่รู้ของเล็กน้อย
ที่ได้จ่ายแล้วและยังไม่ได้จ่าย. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม
5 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ. . .รู้ของเล็กน้อยที่ได้
จ่ายแล้วและยังไม่ได้จ่าย. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย. . .ย่อมไม่รู้ของเล็กน้อย
และยังไม่ได้รับ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ

สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ. . . ย่อมรู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้วและยังไม่ได้
รับ. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ ผู้รับบาตร. . .ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและไม่ได้
รับ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึง
สมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ. . .ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นอารามิกเปสกะ ผู้ใช้คนวัด. . . ย่อมไม่รู้คนที่ได้ใช้แล้วยังไม่ได้
ใช้. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์พึงสมมติ
ให้เป็นอารามิกเปสกะ. . . ย่อมรู้คนที่ได้ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม
5 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ
แม้สมมติแล้ว ก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย
ธรรม 5 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ สงฆ์พึงสมมติแล้ว
พึงใช้ให้ทำการ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม
5 ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล. . . พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต. . . ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
บริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ
ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสสกะประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณร
ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง. ..คูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณร-

เปสกะประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประ-
ดิษฐานไว้ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก 1 ไม่ลำเอียง
เพราะชัง 1 ไม่ลำเอียงเพราะหลง 1 ไม่ลำเอียงเพราะกลัว 1 ย่อมรู้สามเณร
ที่ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบ
ด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เห็นเชิญมาประดิษฐานไว้.
[263] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ 1 ลักทรัพย์ 1 ประพฤติผิดพรหมจรรย์ 1 กล่าวเท็จ 1
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมา
โยนลง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเกิดใน
สวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 1 งดเว้นจากการลักทรัพย์ 1 งดเว้นจากการประพฤติ
ผิดพรหมจรรย์ 1 งดเว้นจากการพูดเท็จ 1 งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.
[264] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี. . .สิกขมานา. . .สามเณร. . .
สามเณรี. . . อุบาสก. . . อุบาสิกา ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเกิดใน
นรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ 1
ลักทรัพย์ 1 ประพฤติผิดในกาม 1 พูดเท็จ 1 ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วย
ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
เกิดในสวรรค์เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ?
คือ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 1 งดเว้นจากการลักทรัพย์ 1 งดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกาม 1 งดเว้นจากการพูดเท็จ 1 งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือ
สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา
ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษ-
ฐานไว้.
[265] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ 1 ลักทรัพย์ 1 ประพฤติผิดในกาม 1 พูดเท็จ 1 ดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาชีวก
ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง.
[266] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์. . . สาวกนิครนถ์. . .ชฏิล. . .
ปริพาชก. . .เดียรถีย์พวกมาคัณฑิกะ. . .พวกเตทัณฑิกะ. . .พวกอารุทธกะ. . .
พวกโคตมกะ. . .พวกเทวธัมมิกะ. . .ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเกิด
ในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้ฆ่า
สัตว์ 1 ลักทรัพย์ 1 ประพฤติผิดในกาม 1 พูดเท็จ 1 ดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เดียรถีย์พวก
เทวธัมมิกะประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำ
มาโยนลง.
[267] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง
ราคะ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ อสุภสัญญา 1 มรณสัญญา 1 อาทีนว-

สัญญา 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 สัพพโลเกอนภิรตสัญญา 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[268] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง
ราคะ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ อนิจจสัญญา 1 อนิจเจทุกขสัญญา 1
ทุกเขอนัตตสัญญา 1 ปหานสัญญา 1 วิราคสัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม 4 ประการนี้ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[269] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง
ราคะ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ 1 วิริยินทรีย์ 1 สตินทรีย์ 1
สมาธินทรีย์ 1 ปัญญินทรีย์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ควร
เจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[270] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง
ราคะ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ กำลังคือสัทธา 1 กำลังคือวิริยะ 1 กำลัง
คือสติ 1 กำลังคือสมาธิ 1 กำลังคือปัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
5 ประการนี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[271] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการ ควรเจริญเพื่อกำหนด
รู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเลื่อมไป เพื่อ
คลาย เพื่อดับ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการ
ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป
เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวางโทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ
มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ.
จบปัญจกนิบาต

อรรถกถาพระสูตรที่มิได้รวมเข้าในวรรค


พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 1 (บาลีข้อ 251) วรรคที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปสมฺปาเทตพฺพํ ได้แก่ เป็นอุปัชฌาย์ ควรให้อุปสมบท.
สูตรที่ 2 (บาลีข้อ 252) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิสฺสโย ทาตพฺโพ ได้แก่ เป็นอาจารย์พึงให้นิสัยได้.
สูตรที่ 3 (บาลีข้อ 253) พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้.
บทว่า สามเณโร อุปฏฺฐาเปตพฺโพ ได้แก่ เป็นอุปัชฌาย์พึงให้
สามเณรอุปัฏฐากได้. สามสูตรนี้ตรัสโดยหมายถึงพระขีณาสพในปฐมโพธิกาล
เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
สูตรที่ 4 เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น โดยพรรณนาตามลำดับ
บท. เรื่องวินิจฉัยภัตตุทเทสก์เป็นต้น พึงทราบโดยนัยนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกาแล.
[261] บทว่า สมฺมโต น เปเสตพฺโพ ได้แก่ ภิกษุได้รับ
สมมติตามปกติ ก็ไม่ควรส่งไปด้วยคำสั่งว่า ท่านจงไป จงแสดงภัตทั้งหลาย
ดังนี้. บทว่า สาฏิยคฺคาหาปโก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้แจกจ่ายผ้าอาบน้ำฝน.
บทว่า ปตฺตคฺคาหาปโก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้แจกบาตรที่ท่านกล่าวไว้ในข้อ
นี้ว่า บาตรใดเป็นบาตรสุดท้ายของภิกษุบริษัทนั้น บาตรนั้นควรให้ถึงแก่
ภิกษุนั้น.
* ในบาลีไม่ได้จัดเป็นสูตร อรรถกถาแก้ตั้งแต่ข้อ 251 ถึงข้อ 271