เมนู

เพราะเขาเป็นที่อยู่ของสิ่งร้าย ป่าช้าเป็นที่อยู่ของมนุษย์ร้าย แม้ฉันใด เรา
กล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.
เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก เห็นเขาผู้ประกอบด้วยกายกรรมอัน
ไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด แล้วย่อม
รำพันทุกข์ว่า โอ เป็นทุกข์ของพวกเราผู้อยู่ร่วมกับบุคคลเห็นปานนี้ เรา
กล่าวข้อนี้เพราะเขาเป็นที่รำพันทุกข์ ป่าช้าเป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก
แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า 5 ประการนี้แล.
จบสีวถิกาสูตรที่ 9

อรรถกถาสีวถิกาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีวถิกาสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีวถิกาย คือ ในป่าช้า. บทว่า อาโรทนา คือสถานที่
ร่ำไห้. บทว่า อสุจินา คือ น่าเกลียดชัง.
จบอรรถกถาสีวถิกาสูตรที่ 9

10. ปุคคลปสาทสูตร


ว่าด้วยโทษของการเลื่อมในที่เกิดขึ้น


[250] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล
5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลใดย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด
บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้
เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อม
ใสมากในพวกภิกษุ เมื่อไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ จึงไม่คบหาภิกษุ

เหล่าอื่น เมื่อไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม
จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ 1.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติ
อันเป็นเหตุให้สงฆ์บังคับให้เขานั่งที่สุดสงฆ์ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็น
ที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์บังคับให้นั่งในที่สุดสงฆ์เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้
ไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ. . . จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษใน
ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ 2.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นหลีกไปสู่
ทิศเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ หลีกไปสู่ทิศ
เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ. . . จึงเสื่อมจาก
สัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ 3.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นลาสิกขา
เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลรู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ลาสิกขาเสียแล้ว เขา
จึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น. . . จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใส
ที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ 4.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นกระทำ
กาละเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ กระทำ
กาละเสียแล้ว เขาจึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล
ข้อที่ 5.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดในบุคคล 5
ประการนี้แล.
จบปุคคลปสาทสูตรที่ 10
จบทุจริตวรรคที่ 5

อรรถกถาปุคคลปสาทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลปสาทสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุคฺคลปฺปสาเท ได้แก่ ในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล
คนหนึ่ง. บทว่า อนฺเต นิสีทาเปติ ได้แก่ ให้เธอนั่งท้ายอาสนะของพวก
ภิกษุ. บทที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปุคคลปสาทสูตรที่ 10
จบทุจริตวรรควรรณนาที่ 5
จบปัญจมปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ทุจริตสูตร 2. กายทุจริตสูตร 3. วจีทุจริตสูตร 4. มโน-
ทุจริตสูตร 5. อปรทุจริตสูตร 6. อปรกายทุจริตสูตร 7. อปรวจีทุจริตสูตร
8. อปรมโนทุจริตสูตร 9. สีวถิกาสูตร 10. ปุคคลปสาทสูตร และอรรถกถา.