เมนู

9. สีวถิกาสูตร


ว่าด้วยโทษของป่าช้าและคนเหมือนป่าช้า


[249] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในป่าช้า 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ เป็นที่ไม่สะอาด 1 มีกลิ่นเหม็น 1 มีภัยเฉพาะหน้า 1
เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์ร้าย 1 เป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย โทษในป่าช้า 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า 5 ประการนี้
ฉันนั้นเหมือนกัน 5 ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อม
ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรม
อันไม่สะอาด เรากล่าวข้อนี้เพราะเขาเป็นผู้ไม่สะอาด ป่าช้านั้นเป็นที่ไม่สะอาด
แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.
กิตติศัพท์ที่ชั่วของเขาผู้ประกอบด้วยกายกรรม อันไม่สะอาด ด้วยวจี-
กรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด ย่อมฟุ้งไป เรากล่าวข้อนี้
เพราะเขาเป็นผู้มีกลิ่นเหม็น ป่าช้ามีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้
เปรียบฉันนั้น.
เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเว้นไกลซึ่งบุคคลนั้นผู้ประกอบ
ด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่
สะอาด เรากล่าวข้อนี้เพราะเขามีภัยเฉพาะหน้า ป่าช้ามีภัยเฉพาะหน้า แม้
ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.
เขาประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด
ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกับบุคคลผู้เสมอกัน เรากล่าวข้อนี้

เพราะเขาเป็นที่อยู่ของสิ่งร้าย ป่าช้าเป็นที่อยู่ของมนุษย์ร้าย แม้ฉันใด เรา
กล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.
เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก เห็นเขาผู้ประกอบด้วยกายกรรมอัน
ไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด แล้วย่อม
รำพันทุกข์ว่า โอ เป็นทุกข์ของพวกเราผู้อยู่ร่วมกับบุคคลเห็นปานนี้ เรา
กล่าวข้อนี้เพราะเขาเป็นที่รำพันทุกข์ ป่าช้าเป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก
แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า 5 ประการนี้แล.
จบสีวถิกาสูตรที่ 9

อรรถกถาสีวถิกาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีวถิกาสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีวถิกาย คือ ในป่าช้า. บทว่า อาโรทนา คือสถานที่
ร่ำไห้. บทว่า อสุจินา คือ น่าเกลียดชัง.
จบอรรถกถาสีวถิกาสูตรที่ 9

10. ปุคคลปสาทสูตร


ว่าด้วยโทษของการเลื่อมในที่เกิดขึ้น


[250] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล
5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลใดย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด
บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้
เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อม
ใสมากในพวกภิกษุ เมื่อไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ จึงไม่คบหาภิกษุ