เมนู

แล้ว ไม่สามารถจะทำการงานได้ดังนี้. บทว่า อโนชวนฺตํ โหติ ได้แก่
อาหารที่บริโภคไม่เป็นไปตามเวลา ย่อมไม่สามารถจะแผ่โอชะไปได้. ธรรม
ที่เป็นสุกกปักข์ฝ่ายดี พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาภัตตสูตรที่ 8

9. ปฐมสัปปสูตร


ว่าด้วยโทษของงูเห่าและมาตุคาม


[229] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ เป็นสัตว์ไม่สะอาด 1 มีกลิ่นเหม็น 1 มีความน่ากลัวมาก 1
มีภัยเฉพาะหน้า 1 มักประทุษร้ายมิตร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า
5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม 5 ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน
5 ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้ไม่สะอาด 1 มีกลิ่นเหม็น 1 มีความ
น่ากลัวมาก 1 มีภัยเฉพาะหน้า 1 มักประทุษร้ายมิตร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โทษในมาตุคาม 5 ประการนี้ แล.
จบปฐมสัปปสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมสัปปสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสัปปสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สภีรุ ได้แก่ เป็นสัตว์ในโพรงนอนหลับสนิทหลับนาน. บทว่า
สปฺปฏิภโย ได้แก่ ภัยย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยงูเห่านั้น. เพราะฉะนั้น มันจึง
ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า. บทว่า มิตฺตทุพฺภี ได้แก่ ประทุษร้าย เบียดเบียนมิตร
แม้เป็นผู้ให้น้ำและข้าวกิน. ถึงในมาตุคาม ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาปฐมสัปปสูตรที่ 9

10. ทุติยสัปปสูตร


ว่าด้วยโทษของงูเห่าและมาตุคาม


[230] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ เป็นสัตว์มักโกรธ 1 มักผูกโกรธ 1 มีพิษร้าย 1 มีสองลิ้น 1
มักประทุษร้ายมิตร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม 5 ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
5 ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้มักโกรธ 1 มักผูกโกรธ 1 มีพิษร้าย 1
มีสองลิ้น 1 มักประทุษร้ายมิตร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโทษ 5 ประการ
นั้น ความที่มาตุคามเป็นผู้มีพิษร้าย คือ โดยมากมาตุคามมีราคะจัด ความที่
มาตุคามเป็นผู้มีสองสิ้น คือ โดยมากมาตุคามมีวาจาส่อเสียด ความที่มาตุคาม
เป็นผู้มักประทุษร้ายมิตร คือ โดยมากมาตุคามมักประพฤตินอกใจ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม 5 ประการนี้แล.
จบทุติยสัปปสูตรที่ 10
จบทีฆจาริกวรรคที่ 3