เมนู

4. มัจฉรสูตร


ว่าด้วยคุณและโทษของการอยู่อาศัย


[224] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้อยู่ประจำที่เป็นผู้ตระหนี่ที่อยู่ 1 ตระหนี่
สกุล 1 ตระหนี่ลาภ 1 ตระหนี่วรรณะ 1 ตระหนี่ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่ที่กำหนดพอสมควร 5 ประการ
นี้ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้อยู่มีกำหนดพอสมควร เป็นผู้ไม่ตระหนี่
ที่อยู่ 1 ไม่ตระหนี่สกุล 1 ไม่ตระหนี่ลาภ 1 ไม่ตระหนี่วรรณะ 1 ไม่
ตระหนี่ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร
5 ประการนี้แล.
จบมัจฉรสูตรที่ 4

อรรถกถามัจฉรสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉรสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วณฺณมจฺฉรี คือ เป็นผู้ตระหนี่คุณ. บทว่า ธมฺมมจฺฉรี คือ
เป็นผู้ตระหนี่ปริยัติ.
จบอรรถกถามัจฉรสูตรที่ 4

5. ปฐมกุลุปกสูตร


ว่าด้วยโทษแห่งการเข้าไปสู่สกุล


[225] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ 5 ประการนี้ มีอยู่ในภิกษุผู้เข้า
ไปสู่สกุล 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุลย่อมต้องอาบัติเพราะ
เที่ยวไปโดยไม่บอกลา 1 ย่อมต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหูกับมาตุคาม 1
ย่อมต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับตากับมาตุคาม 1 เมื่อแสดงธรรมแก่มาตุคาม
เกินกว่า 5-6 คำ ย่อมต้องอาบัติ 1 ย่อมมากด้วยความดำริในกามอยู่ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ 5 ประการนี้แล มีอยู่ในภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล.
จบปฐมกุลุปกสูตรที่ 5

อรรถกถาปฐมกุลุปกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกุลุปกสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อนามนฺตจาเร อาปชฺชติ ความว่า ต้องอาบัติ ที่ตรัสไว้ใน
สิกขาบทว่า ภิกษุรับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความ
เป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก่อนอาหาร หรือทีหลังอาหาร ดังนี้. แม้บท
เป็นต้นว่า รโหนิสชฺชาย พึงทราบตามสิกขาบทเหล่านั้น.
จบอรรถกถาปฐมกุลุปกสูตรที่ 5