เมนู

ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ภิกษุใดปรารถนาเทพนิกายหมู่ใด
หมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพ
องค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ
บำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ 5
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ 5 ประการนี้แล.
จบวินิพันธสูตรที่ 6

อรรถกถาวินิพันธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวินิพันธสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เจตโส วินิพนฺธา ได้แก่ กิเลสชื่อว่า เจตโสวินิพันธะ
เพราะผูกจิตยึดไว้ ดุจทำไว้ในกำมือ. บทว่า กาเม ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม
ทั้งกิเลสกาม. บทว่า กาเย ได้แก่ ในกายของตน. บทว่า รูเป คือในรูป
ภายนอก. บทว่า ยาวทตฺถํ ได้แก่ เท่าที่ตนปรารถนา. บทว่า อุทราว-
เทหกํ
ได้แก่ อาหารที่เต็มท้อง อาหารที่เต็มท้องนั้นเรียกกันว่า อุทราวเทหกํ
เพราะบรรจุเต็มท้องนั้น. บทว่า เสยฺยสุขํ ได้แก่ ความสุขโดยการนอน
บนเตียงหรือตั่ง หรือความสุขตามอุตุ [อุณหภูมิ]. บทว่า ปสฺสสุขํ ได้แก่
ความสุขที่เกิดขึ้น เหมือนความสุขของบุคคลผู้นอนพลิกไปรอบ ๆ ทั้งข้างขวา
ทั้งข้างซ้าย ฉะนั้น. บทว่า มิทฺธสุขํ คือ ความสุขในการหลับ. บทว่า
อนุยุตฺโต ได้แก่ ประกอบขวนขวายอยู่. บทว่า ปณิธาย แปลว่า ปรารถนา
แล้ว. จตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าศีล ในบทเป็นต้นว่า สีเลน. การสมาทานคือถือ

วัตร ชื่อว่าวัตร. การประพฤติตบะ ชื่อว่าตบะ การงดเว้นเมถุน ชื่อว่า
พรหมจรรย์. บทว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ ความว่า เราจักเป็นเทพผู้ใหญ่
หรือ. บทว่า เทวญฺญตโร วา ความว่า หรือจักเป็นเทพผู้น้อยองค์ใด
องค์หนึ่ง.
จบอรรถกถาวินิพันธสูตรที่ 6

7. ยาคุสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์ข้าวยาคู


[207] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของข้าวยาคู 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน ? คือ บรรเทาความหิว 1 ระงับความระหาย 1 ยังลม
ให้เดินคล่อง 1 ชำระลำไส้ 1 เผาอาหารเก่าที่ยังไม่ย่อย 1
ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อานิสงส์ของข้าวยาคู 5 ประการนี้แล.
จบยาคุสูตรที่ 7

อรรถกถายาคุสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในยาคุสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วาตํ อนุโลเมติ ได้แก่ ทำลมให้เดินสะดวก. บทว่า วตฺถึ
โสเธติ
ได้แก่ ชำระกระเพาะปัสสาวะให้สะอาด. บทว่า อามาวเสสํ ปาเจติ
ความว่า ถ้าอาหารที่ดิบยังไม่ย่อยมี ก็ช่วยย่อยอาหารนั้น.
จบอรรถกถายาคุสูตรที่ 7