เมนู

เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 5.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ 5 ประการนี้แล.
จบเจโตขีลสูตรที่ 5

อรรถกถาเจโตขีลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเจโตขีลสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เจโตขีลา ได้แก่ ความกระด้าง ความเป็นขยะ ความเป็น
หลักตอแห่งจิต. บทว่า สตฺถริ กงฺขติ ความว่า ภิกษุย่อมสงสัยในพระ-
วรกาย หรือในพระคุณของพระศาสดา. เมื่อสงสัยในพระวรกาย ย่อมสงสัยว่า
พระวรกาย ชื่อว่าประดับด้วยปุริสลักษณะ 32 มีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้
เมื่อสงสัยในคุณ ย่อมสงสัยว่า พระสัพพัญญุตญาณซึ่งสามารถรู้อดีต อนาคต
และปัจจุบันมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้. บทว่า วิจิกิจฺฉติ ได้แก่ เลือกเฟ้น
ยาก ย่อมถึงความลำบาก คือไม่สามารถจะตัดสินใจได้. บทว่า นาธิมุจฺจติ
ได้แก่ ย่อมไม่ได้ความน้อมใจเชื่อว่าสิ่งนั้นอย่างนี้. บทว่า น สมฺปสีทติ
ความว่า หยั่งลงในคุณแล้วก็ไม่สามารถจะเลื่อมใส คือมีใจไม่ขุ่นมัว เพราะ
ไม่มีความสงสัยได้. บทว่า อาตปฺปาย ได้แก่ เพื่อทำความเพียรเผาผลาญ
กิเลส. บทว่า อนุโยคาย ได้แก่ เพื่อความประกอบบ่อยๆ. บทว่า สาตจฺจาย
ได้แก่ เพื่อทำติดต่อกัน. บทว่า ปธานาย ได้แก่ เพื่อตั้งความเพียร. บทว่า
อยํ ปฐโม เจโตขีโล ความว่า ภาวะนี้เป็นความกระด้างแห่งจิตข้อที่หนึ่ง
คือความสงสัยในพระศาสดานี้ อย่างนี้แล ภิกษุนั้นก็ละยังไม่ได้.

บทว่า ธมฺเม คือในปริยัติธรรม และปฏิเวธธรรม. ก็เมื่อสงสัยใน
ปริยัติธรรม ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า พระไตรปิฎกพุทธพจน์
มีแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ดังนี้ พระพุทธพจน์นั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้.
เมื่อสงสัยในปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า ผลแห่ง
วิปัสสนา ชื่อว่ามรรค ผลของมรรค ชื่อว่าผล ธรรมที่สละคืนสังขารทั้งปวง
ชื่อว่านิพพาน ดังนี้ นิพพานนั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอ ดังนี้.
บทว่า สงฺเฆ กงฺขติ ความว่า ย่อมสงสัยว่า ชื่อว่าสงฆ์ ผู้ดำเนิน
ตามปฏิปทาเห็นปานนี้ ตามบทเป็นต้นว่า อุชุปฏิปนฺโน ดังนี้ เป็นชุมนุม
แห่งบุคคล 8 คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล 4 มีอยู่ หรือไม่มี
หนอดังนี้.
เมื่อสงสัยในสิกขา ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า อธิสีล-
สิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาดังนี้ สิกขานั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้.
บทว่า อยํ ปญฺจโม ความว่า ภาวะนี้เป็นความกระด้าง ความเป็น
ขยะ เป็นหลักตอแห่งจิตข้อที่ห้า คือความขัดเคืองในเพื่อนสพรหมจารี.
จบอรรถกถาเจโตขีลสูตรที่ 5

6. วินิพันธสูตร


ว่าด้วยเครื่องผูกพันใจ 5 ประการ


[206] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความ