เมนู

มาความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน
ดูก่อนกิมพิละ นี้แลเป็น
เหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพาน
แล้ว.
จบกิมพิลสูตรที่ 1

ปัญจมปัณณาสก์


กิมพิลวรรควรรณนาที่ 1


อรรถกถากิมพิลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกิมพิลสูตรที่ 1 แห่งปัณณาสก์ที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กิมฺพิลายํ ได้แก่ ในเมืองที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า เวฬุวเน
คือ ในป่ามุขจลินท์. บทว่า เอตทโวจ ได้ยินว่า พระเถระนี้ เป็นบุตร-
เศรษฐีในเมืองนั้น บวชในสำนักของพระศาสดา ได้บุพเพนิวาสญาณ พระเถระ
นั้น เมื่อระลึกถึงขันธสันดานสืบต่อขันธ์อันตนเคยอยู่แล้ว บวชแล้ว ในเวลา
ที่ศาสนาของพระกัสสปทศพลเสื่อม. เมื่อบริษัท 4 ทำความไม่เคารพใน
ศาสนาอยู่ จึงพาดบันไดขึ้นภูเขา ทำสมณธรรมบนภูเขานั้น ได้เห็นความที่
ตนเคยอยู่แล้ว. ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วหมายจะทูลถามถึงเหตุนั้นดังนี้
แล้วจึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า โก นุ โข ภนฺเต ดังนี้ กะพระศาสดานั้น
อย่างนี้.

บทว่า สตฺถริ อคารวา วิหรนฺติ อปฺปติสฺสา ความว่า ย่อม
ไม่ตั้งความเคารพและความเป็นใหญ่ไว้ในพระศาสดา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้
เหมือนกัน.
ในบทเหล่านั้น ภิกษุเมื่อเดินกั้นร่ม สวมรองเท้าที่ลานพระเจดีย์
เป็นต้นก็ดี พูดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มีประการต่าง ๆ ก็ดี ชื่อว่าไม่เคารพ
ในพระศาสดา. อนึ่ง นั่งหลับในโรงฟังธรรมก็ดี พูดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
มีประการต่าง ๆ ก็ดี ชื่อว่าไม่เคารพในพระธรรม. เมื่อพูดถึงเรื่องต่าง ๆ
ยกแขนส่ายในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ทำการยำเกรงในภิกษุผู้เถระ ผู้นวกะ (ผู้ใหม่)
และผู้มัชฌิมะ (ผู้ปานกลาง) ชื่อว่าไม่เคารพในสงฆ์อยู่. เมื่อไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา เมื่อทำการทะเลาะบาดหมางเป็นต้น
กะกันและกัน ชื่อว่าไม่เคารพกันและกัน.
จบอรรถกถากิมพิลสูตรที่ 1

2. ธัมมัสสวนสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 ประการ


[202] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน คือ ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 1 ย่อมเข้า
ใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว 1 ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ 1 ย่อมทำความ
เห็นให้ตรง 1 จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์
ในการฟังธรรม 5 ประการนี้แล.
จบธัมมัสสวนสูตรที่ 2
สูตรที่ 2 อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.