เมนู

ย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก
แห่งสักกายะ.

ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินใน
วิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น
แก่เธอเพราะความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินใน
วิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว
ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่
พึงพรากได้ 5 ประการนี้แล.
จบนิสสารณียสูตรที่ 10
จบพราหมณวรรควรรณนาที่ 5
จบจตุตถปัณณาสก์

อรรถกถานิสสารณียสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนิสารณียสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :
บทว่า นิสฺสารณิยา ได้แก่ สลัดออกไป คือ พรากออกได้. บทว่า
ธาตุโย ได้แก่ สภาพที่ว่างจากตน. บทว่า กามํ มนสิกโรโต ได้แก่
ใส่ใจถึงกาม อธิบายว่า ออกจากอสุภฌานแล้วส่งจิตมุ่งต่อกามเพื่อจะทดสอบ
ดุจหยิบยาทดลองพิษ [ฤทธิ์ยา]. บทว่า น ปกฺขนฺทติ คือ ไม่เข้าไป. บทว่า
น ปสีทติ คือ ไม่ถึงความเลื่อมใส. บทว่า น สนฺติฏฺฐติ คือ ไม่ตั้งอยู่.
บทว่า น วิมุจฺจติ คือไม่น้อมไป. เหมือนอย่างว่า ปีกไก่ก็ดี เอ็นกบก็ดี

ที่เขาใส่ลงไปในไฟ ย่อมหงิกงอ ม้วนไม่เหยียด ฉันใด จิตก็หดหู่ไม่เหยียดออก
ฉันนั้น. ปฐมฌานในอสุภะชื่อว่า เนกขัมมะ ในบทนี้ว่า เนกฺขมฺมํ โข ปน
ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้นใส่ใจถึงเนกขัมมะนั้น จิตย่อมแล่นไป (ในเนกขัมมะ).
บทว่า ตสฺส ตํ จิตฺตํ ได้แก่ จิตในอสุภฌานของภิกษุนั้น. บทว่า สุคตํ
ได้แก่ ไปแล้วด้วยดี เพราะไปในโคจรคืออารมณ์. บทว่า สุภาวิตํ ได้แก่
อบรมแล้วด้วยดี เพราะไม่เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม. บทว่า สุวุฏฺฐิตํ
ได้แก่ ออกไปแล้วจากกาม. บทว่า สุวิมุตฺตํ ได้แก่ พ้นแล้วด้วยดีจากกาม
ทั้งหลาย. อาสวะทั้งหลาย 4 ที่มีกามเป็นเหตุ ชื่อว่าอาสวะ มีกามเป็นปัจจัย.
ความทุกข์ ชื่อว่า วิฆาตะ ความเร่าร้อนเพราะกามราคะชื่อว่า ปริฬาหะ.
บทว่า น โส ตํ เวทนํ เวทยติ ความว่า ภิกษุนั้นมิได้เสวยเวทนาเกิดจาก
กามนั้น และเวทนาเกิดจากความทุกข์ และความเร่าร้อน.
บทว่า อิทมกฺขาตํ กามานํ นิสฺสรณํ ความว่า อสภฌานนี้ท่าน
กล่าวว่า เป็นเครื่องไหลออกไปแห่งกามทั้งหลาย เพราะสลัดออกจากกาม.
ก็ภิกษุใดทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายบรรลุตติยมรรค เห็น
นิพพานด้วยอนาคามิผลแล้วก็รู้ว่า ชื่อว่ากามทั้งหลายจะไม่มีอีกดังนี้ จิตของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นนิสสรณะ เครื่องไหลออกโดยส่วนเดียว. แม้ในบทที่เหลือ
ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ความต่างกันมีดังนี้ ในวาระที่ 2 เมตตาฌานชื่อว่า
เป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาท ในวาระที่ 3 กรุณาฌานชื่อว่าเป็นเครื่อง
สลัดออกแห่งวิหิงสา ในวาระที่ 4 อรูปฌานชื่อว่าเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป
ทั้งหลาย. อนึ่ง พึงประกอบอรหัตผลเข้าในบทนี้ว่า อจฺจนฺตนิสฺสรณํ
ดังนี้. ในวาระที่ 5 บทว่า สกฺกายํ มนสิกโรโต
ความว่า เมื่อภิกษุกำหนด
สังขารล้วนเป็นอารมณ์แล้วบรรลุพระอรหัต เป็นสุกขวิปัสสกออกจากผลสมาบัติ

แล้วจึงส่งจิตมุ่งต่ออุปาทานขันธ์ 5 เพื่อทดสอบ. บทว่า อิทมกฺขาตํ สกฺกา-
ยสฺส นิสฺสรณํ
ความว่า จิตอันสัมปยุตด้วยอรหัตผลสมาบัติที่เกิดขึ้นว่า
สักกายะจะไม่มีอีกต่อไป ดังนี้ ของภิกษุผู้เห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรค
และด้วยผลดำรงอยู่นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นเครื่องสลัดออกไปแห่งสักกายะ. ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญคุณของพระขีณาสพ
ผู้บรรลุสักกายนิสสรณนิโรธอย่างนี้ดำรงอยู่ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺส
กามนนฺทิปิ นานุเสติ
ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า นานุเสติ คือไม่เกิด.
บทว่า อนนุสยา คือ เพราะความไม่เกิด. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถานิสสารณียสูตรที่ 10
จบพราหมณวรรควรรคนาที่ 5
จบจตุตถปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โสณสูตร 2. โทณสูตร 3. สังคารวสูตร 4. การณปาลีสูตร
5. ปิงคิยานีสูตร 6. สุปินสูตร 7. วัสสสูตร 8. วาจาสูตร 9. กุลสูตร
10. นิสสารณียสูตร และอรรถกถา.