เมนู

สุขเป็นวิบากต่อไป 1 สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส 1 สมาธินี้อันคน
เลวเสพไม่ได้ 1 สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้
ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก
ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสังขาร 1 ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจาก
สมาธินี้ได้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ
เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ
เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ 5 อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน.
จบสมาธิสูตรที่ 7

อรรถกถาสมาธิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปมาณํ ได้แก่ โลกุตรสมาธิอันเว้นจากธรรมที่กำหนด
ประมาณได้. บทว่า นิปกา ปติสฺสตา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญา
รักษาตนและสติ. บทว่า ปญฺจ ญาณานิ ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณ 5. บทว่า
ปจฺจตฺตญฺเญว อุปฺปชฺชนฺติ แปลว่า ย่อมเกิดขึ้นในตนเท่านั้น. ในบท
เป็นต้นว่า อยํ สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข เจว ท่านประสงค์เอาอรหัตผล-
สมาธิ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มคฺคสมาธิ ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ สมาธินั้น
ชื่อว่า เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นสุขในขณะที่จิตแน่วสนิท. สมาธิต้น ๆ
มีสุขเป็นวิบากในอนาคต เพราะเป็นปัจจัยแก่สมาธิ สุขหลัง ๆ แล. สมาธิ
ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า นิรามิส เพราะไม่มี

อามิสส่วนกาม อามิสส่วนวัฏฏะ อามิสส่วนโลก. ชื่อว่า มิใช่ธรรมที่คนเลว
เสพ เพราะเป็นสมาธิอันมหาบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเสพแล้ว. ชื่อว่า สงบ
เพราะสงบอังคาพยพคือกาย สงบอารมณ์แสะสงบจากความกระวนกระวายด้วย
อำนาจสรรพกิเลส. ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ชื่อว่า
ได้ความรำงับ เพราะความรำงับกิเลสอันตนได้แล้ว หรือตนได้ความรำงับ
กิเสส บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธํ ปฏิปฺปสฺสทฺธิ นี้ โดยความได้เป็นอันเดียวกัน
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าได้ความรำงับ เพราะผู้มีกิเลสอันรำงับ หรือผู้ไกลจาก
กิเลสได้แล้ว. ชื่อว่าถึงเอโกทิ เพราะถึงด้วยความมีธรรมเอกผุดขึ้น หรือถึง
ความมีธรรมเอกผุดขึ้น. ชื่อว่าไม่ต้องใช้ความเพียรข่มห้าม เพราะไม่ต้องใช้
จิตอันมีสังขารคือความเพียรข่มห้ามกิเลสอันเป็นข้าศึกบรรลุเหมือนอย่างสมาธิ
ของผู้ที่ยังมีอาสวะอันไม่คล่องแคล่ว ภิกษุเมื่อเข้าสมาธินั้นหรือออกจากสมาธิ
นั้น ย่อมมีสติเข้าสติออก หรือว่ามีสติเข้ามีสติออก โดยกาลตามที่กำหนดไว้
เพราะเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยสติ เพราะฉะนั้น ปัจจยปัจจเวกขณญาณ ความรู้
พิจารณาเห็นปัจจัยในสมาธินี้อันใด เกิดขึ้นเฉพาะตัวเท่านั้น แก่ภิกษุผู้พิจารณา
เห็นอย่างนี้ว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบากในอนาคต ปัจจย-
ปัจจเวกขณญาณนั้นก็เป็นญาณอย่างหนึ่ง ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ญาณ 5
เหล่านี้ย่อมเกิดเฉพาะตนเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ 7

8. อังคิกสูตร


ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิมีองค์ 5


[28] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่
ประกอบด้วยองค์ 5 อันประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่ง
กายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน
พนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลง
ในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับ
ติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันประเสริฐ
ข้อที่ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ
วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่ง
กายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน
ห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้