เมนู

สุขเป็นวิบากต่อไป 1 สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส 1 สมาธินี้อันคน
เลวเสพไม่ได้ 1 สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้
ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก
ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสังขาร 1 ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจาก
สมาธินี้ได้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ
เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ
เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ 5 อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน.
จบสมาธิสูตรที่ 7

อรรถกถาสมาธิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปมาณํ ได้แก่ โลกุตรสมาธิอันเว้นจากธรรมที่กำหนด
ประมาณได้. บทว่า นิปกา ปติสฺสตา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญา
รักษาตนและสติ. บทว่า ปญฺจ ญาณานิ ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณ 5. บทว่า
ปจฺจตฺตญฺเญว อุปฺปชฺชนฺติ แปลว่า ย่อมเกิดขึ้นในตนเท่านั้น. ในบท
เป็นต้นว่า อยํ สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข เจว ท่านประสงค์เอาอรหัตผล-
สมาธิ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มคฺคสมาธิ ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ สมาธินั้น
ชื่อว่า เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นสุขในขณะที่จิตแน่วสนิท. สมาธิต้น ๆ
มีสุขเป็นวิบากในอนาคต เพราะเป็นปัจจัยแก่สมาธิ สุขหลัง ๆ แล. สมาธิ
ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า นิรามิส เพราะไม่มี