เมนู

อรรถกถาปิงคิยานีสูตร


พึงทราบวินิจฉัยใน ปิงคิยานีสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
คำว่า นีลา นี้รวมสีเขียวไว้ทั้งหมด. คำว่า นีลวณฺณา เป็นต้น
แสดงการจำแนกสีเขียวนั้น. ในบทว่า นีลวณฺณา นั้นตามปกติวรรณของ
กษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้นไม่เขียว แต่ท่านกล่าวคำนั้นเพราะกษัตริย์เหล่านั้นทา
ด้วยเครื่องทาสีเขียว. บทว่า นีลวตฺถา ได้แก่แม้ผ้าเนื้อดีและผ้าไหมเป็นต้น
ของกษัตริย์เหล่านั้นก็เป็นสีเขียวทั้งนั้น. บทว่า นีลาลงฺการา ได้แก่ประดับ
ด้วยแก้วมณีเขียวและดอกไม้เขียว แม้เครื่องประดับช้าง ม้า รถ ม่าน เพดาน
และเสื้อของกษัตริย์เหล่านั้นก็เขียวทั้งหมด. พึงทราบเนื้อความในทุกบทโดย
นัยนี้.
บทว่า ปทุมํ ยถา ได้แก่ เหมือนดอกปทุมสีแดงมี 100 ใบ
ฉะนั้น บทว่า โกกนุทํ เป็นไวพจน์ของคำว่า ปทุมํ นั้นนั่นแล. บทว่า
ปาโต ได้แก่ เช้าตรู่คือในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี.
บทว่า อวีตคนฺธํ ได้แก่ ไม่หายหอม. บทว่า องฺคีรสํ ความว่าพระรัศมี
ซ่านจากพระวรกายน้อยใหญ่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้นจึงเรียกพระ
อังคีรส บทว่า ตปนฺตมาทิจฺจมิวนฺตลิกฺเข ความว่า พราหมณ์ปิงคิยานี
กล่าวว่า ท่านจงดูพระอังคีรสผู้รุ่งเรือง ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงในอากาศ
สามารถทำความสว่างในทวีปใหญ่ 4 ทวีป ซึ่งมีทวีปน้อย 2,000 เป็นบริวาร
พราหมณ์ปิงคิยานีกล่าวอย่างนี้ หมายถึงตนเองหรือมหาชน.
จบอรรถกถาปิงคิยานีสูตรที่ 5