เมนู

โดยเด็ดขาดแห่งอุทธัจจะ อนาคามิมรรค ชื่อว่าการนำออกไปโดยเด็ดขาด
แห่งกุกกุจจะ สำหรับวิจิกิจฉา การกำหนดธรรม ชื่อว่าการนำออกไปด้วย
การข่มไว้ ปฐมมรรค ชื่อว่าการนำออกไปโดยเด็ดขาด.
ก็ในสูตรนี้ท่านกล่าวข้ออุปมาเหล่าใดมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ
อุทปตฺโต สํสฏโฐ ลาขาย วา
ดังนี้ ในอุปมาเหล่านั้น บทว่า อุทปตฺโต
ได้แก่ ภาชนะเต็มด้วยน้ำ. บทว่า สํสฏฺโฐ ได้แก่ ผสมสีต่างชนิด. บทว่า
อุกฺกุฏฺฐิโต ได้แก่ เดือดพล่าน. บทว่า อุสฺสทกชาโต ได้แก่ มีควันตลบ.
บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺโธ ได้แก่ ปกคลุมด้วยสาหร่าย มีประเภท
เป็นพืชงาเป็นต้น หรือแหนมีสีเขียวและสีเหมือนหลังกบซึ่งเกิดปิดผิวน้ำ.
บทว่า วาเตริโต ได้แก่ ถูกลมพัดกระเพื่อม. บทว่า อาวิโล คือไม่ใส.
บทว่า ลุฬิโต คือไม่นิ่ง. บทว่า กลลีภูโต คือมีเปือกตม. บทว่า อนฺธกาเร
นิกฺขิตฺโต ได้แก่ ถูกวางไว้ในที่ไม่มีแสงสว่าง (มืด) เช่น ภายในยุ้งเป็นต้น.
ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยักเยื้องเทศนาด้วยภพ 3 แล้วทรงจบลงด้วย
ยอดธรรม คือ พระอรหัต. ส่วนพราหมณ์ตั้งอยู่ในคุณเพียงแค่สรณะ.
จบอรรถกถาสังคารวสูตรที่ 3

4. การณปาลีสูตร


ว่าด้วยเหตุที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า


[194] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการ-
งานของเจ้าลิจฉวีอยู่ ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์เดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้

ถามว่า อ้อ ท่านปิงคิยานีมาจากไหนแต่ยังวัน (แต่วันนัก). ปิงคิยานีพราหมณ์
ตอบว่า ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม.
กา. ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของ
พระสมณโคดมว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร.
ปิ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักรู้พระปรีชาของ
พระสมณโคดม ผู้ใดพึงรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นพึงเป็นเช่น
กับพระสมณโคดมนั้นแน่นอน.
กา. ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก.
ปิ. ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจะสรรเสริญพระสมณโคดม
และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญ
แล้ว ๆ ว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
กา. ก็ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนักใน
พระสมณโคดมอย่างนี้. .
ปิ. ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่
ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์
นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดย
อัพภูตธรรม ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะ
นั้น ๆ ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิว และความอ่อนเพลียครอบงำ
พึงได้รวงผึ้ง เขาพึงลิ้มรสโดยลักษณะใด ๆ ก็ย่อมได้รสดีอันไม่เจือ ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ โดย
สุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมได้ความดีใจ
ย่อมได้ความเลื่อมใสแห่งใจ โดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษ

พึงได้ไม้จันทน์แห่งจันทน์เหลืองหรือจันทน์แดง พึงสูดกลิ่นจากที่ใด ๆ เช่น
จากราก จากลำต้น หรือจากยอด ก็ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้ ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ โดย
สุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ก็ย่อมได้ความ
ปราโมทย์ ย่อมได้โสมนัส โดยลักษณะนั้น ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้
อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว
ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ
โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความโศก
ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขาย่อมหมด
ไปโดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น เปรียบเหมือนสระน้ำมีน้ำใสน่าเพลินใจ น้ำเย็น
น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำนั้น อาบ ดื่ม
พึงระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง
ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ
โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความกระวน-
กระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป
โดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น.
เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจาก
ที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลี
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ เปล่งอุทานสามครั้งว่า ขอความ
นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ-
องค์นั้น ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วกล่าวต่อไปว่า ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่าน
แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานี
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ
ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มี
จักษุเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น กับทั้ง
พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบการณปาลีสูตรที่ 4

อรรถกถาการณปาลีสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในการณปาลีสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า การณปาลี เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์ชื่อการณปาลี
เพราะทำราชการในราชสำนัก. บทว่า กมฺมนฺตํ กาเรติ ความว่า การณปาลี-
พราหมณ์ลุกแต่เช้าตรู่ กระทำประตูป้อม และกำแพงที่ยังไม่ได้ทา ซ่อมส่วน
ที่ชำรุด.
บทว่า ปิงฺคิยานึ พฺราหฺมณํ ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นอริยสาวก
ตั้งอยู่ในอนาคามิผล จึงมีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นลุกแต่เช้าตรู่ ถือ
ของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชาด้วยดอกไม้
เป็นต้น แล้วจึงเข้าเมือง. นี้เป็นกิจวัตรประจำวันของพราหมณ์. การณปาลี-
พราหมณ์นั้น ได้เห็นพราหมณ์ปิงคิยานีทำกิจวัตรอย่างนั้นแล้วกำลังเดินมา.