เมนู

อรรถกถาสังคารวสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังคารวสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปเคว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า กามราคปริยุฏฺฐิเตน
ได้แก่ ถูกกามราคะยึดไว้. บทว่า กามราคปเรเตน ได้แก่ ถูกกามราคะ
ติดตาม.
บทว่า นิสฺสรณํ ความว่า การออกไปแห่งกามราคะมี 3 อย่าง คือ
การออกไปด้วยการข่มไว้ 1 การออกไปชั่วคราว 1 การออกไปเด็ดขาด 1.
ใน 3 อย่างนั้น ปฐมฌานในอสุภกรรมฐาน ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่มไว้.
วิปัสสนาชื่อว่า การออกไปชั่วคราว อรหัตมรรคชื่อว่า การออกไปเด็ดขาด.
อธิบายว่า ไม่รู้การออกไปแม้ทั้ง 3 อย่างนั้น.
ในบทว่า อตฺตตฺถมฺปิ เป็นต้น ประโยชน์ของตนอันได้แก่พระอรหัต
ชื่อว่า ประโยชน์ตน ประโยชน์ของผู้ให้ปัจจัย ชื่อว่า ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์
แม้ทั้งสองนั้นแล ชื่อว่า ประโยชน์ทั้งสอง. พึงทราบเนื้อความในทุกวาระโดย
นัยนี้.
แต่พึงทราบความต่างกันต่อไปนี้. จริงอยู่ ในบทมีอาทิว่า พฺยาปา-
ทสฺส นิสฺสรณํ
การออกไปมีสองอย่าง คือ การออกไปด้วยการข่มไว้ และ
การออกไปโดยเด็ดขาด. ในสองอย่างนั้นสำหรับพยาบาทก่อน เมตตาปฐมฌาน
ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่ม อนาคามิมรรค ชื่อว่า การออกไปโดยเด็ดขาด.
สำหรับถีนมิทธะ อาโลกสัญญา ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่มไว้ อรหัตมรรค
ชื่อว่า การออกไปโดยเด็ดขาด. สำหรับอุทธัจจกุกกุจจะ สมถะอย่างใดอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าการออกไปด้วยการข่มไว้ แต่ในที่นี้ อรหัตมรรค ชื่อว่าการนำออกไป