เมนู

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่
ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุเห็น
รูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ. ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบโทณสูตรที่ 2

อรรถกถาโทณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยโทณสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตฺวํปิ โน แก้เป็น ตฺวมฺปิ นุ แปลว่า แม้ท่านหนอ.
บทว่า ปวตฺตาโร คือ ผู้สอน. บทว่า เยสํ คือ เป็นสมบัติของฤาษี
เหล่าใด. บทว่า มนฺตปทํ ได้แก่ มนต์ คือ พระเวทนั่นเอง. บทว่า
คีตํ ได้แก่ พวกโบราณพราหมณ์ 10 คน มีอัฏฐกพราหมณ์เป็นต้นสาธยาย
แล้วด้วยสรภัญญสมบัติ คือ เสียง. บทว่า ปวุตฺตํ ได้แก่ บอกกล่าว
[สอน] แก่คนอื่น. บทว่า สมิหิตํ ได้แก่ รวบรวม คือ ทำให้เป็นกอง
อธิบายว่าตั้งไว้เป็นกลุ่มเป็นก้อน. บทว่า ตทนุคายนฺติ ความว่า บัดนี้พราหมณ์
ทั้งหลายก็ขับสาธยายมนต์ตามที่โบราณพราหมณ์เหล่านั้นขับมาก่อน. บทว่า
ตทนุภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวมนต์นั้นตาม. บทนี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นแล.
บทว่า ภาสิตมนุภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวตามที่พวกโบราณพราหมณ์เหล่านั้น
กล่าวไว้. บทว่า สชฺฌายิตมนุสชฌายนฺติ ได้แก่ สาธยายตามที่พวก

โบราณพราหมณ์เหล่านั้นสาธยาย. บทว่า วาจิตมนุวาเจนฺติ ได้แก่ บอก
ตามที่พวกโบราณพราหมณ์เหล่านั้นบอกแก่ผู้อื่น.
บทว่า เสยฺยถีทํ ได้แก่ โบราณพราหมณ์เหล่านั้นมีใครบ้าง. บทว่า
อฏฺฐุโก เป็นต้น เป็นชื่อของโบราณพราหมณ์เหล่านั้น. ได้ยินว่า โบราณ-
พราหมณ์เหล่านั้นตรวจดูด้วยทิพยจักษุแล้วไม่ทำการเบียดเบียนผู้อื่น เทียบ
ปาพจน์คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วเรียบเรียงมนต์ทั้งหลาย. แต่พราหมณ์อีกพวกหนึ่งใส่กรรมมีปาณาติบาต
เป็นต้นเข้าไปทำลายพระเวท 3 ทำให้ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์เสีย.
บทว่า อสฺสุ ในบทว่า ตฺยาสฺสุเม นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า
พราหมณ์เหล่านั้นบัญญัติพราหมณธรรม 5เหล่านี้. บทว่า มนฺเต อธิยมาโน
ได้แก. ท่องเรียนพระเวททั้งหลาย. บทว่า อาจริยธนํ ได้แก่ ทรัพย์บูชา
อาจารย์ คือ ทรัพย์อันเป็นส่วนบูชาอาจารย์. บทว่า น อิสฺสตฺเถน ได้แก่
ไม่ใช่ให้เกิดขึ้นด้วยงานนักรบอาชีพ. บทว่า น ราชโปริเสน ได้แก่
ไม่ใช่ให้เกิดขึ้นด้วยความเป็นข้าราชการ.
บทว่า เกวลํ ภิกฺขาจริยาย ได้แก่ เกิดขึ้นด้วยภิกขาจาร อันบริสุทธิ์
[ล้วน ๆ] เท่านั้น. บทว่า กปาลํ อนติมญฺญมาโน ได้แก่ ไม่ดูหมิ่น
ภิกขาภาชนะ. ก็โทณพราหมณ์นั้นถือภิกขาภาชนะใส่น้ำเต็มแล้ว สนานศีรษะ
ไปยืนอยู่ที่ประตูของตระกูลทั้งหลายร้องขอว่า ข้าพเจ้าประพฤติโกมารพรหม-
จรรย์ (เป็นชายโสด) มาตลอด 48 ปี ทั้งมนต์ข้าพเจ้าก็เรียนแล้ว ข้าพเจ้า
จักให้ทรัพย์บูชาอาจารย์แก่อาจารย์ ขอท่านทั้งหลายจงให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้าเถิด
ดังนี้. พวกมนุษย์ได้ฟังดังนั้นต่างก็ให้ทรัพย์ 8 กหาปณะบ้าง 16 กหาปณะ
บ้าง 100 กหาปณะบ้าง ตามกำลังสามารถ โทณพราหมณ์เที่ยวไปขอทั่ว
หมู่บ้าน อย่างนี้แล้วมอบทรัพย์ที่ได้ให้แก่อาจารย์. คำนั้นท่านกล่าวหมายถึง
ภิกขาภาชนะนั้น.

บทว่า เอวํ โข โทณพฺราหมฺโณ พฺรหฺมสโม โหติ ความว่า
พราหมณ์เป็นผู้ชื่อว่าเสมอด้วยพรหม เพราะประกอบด้วยพรหมวิหารอย่างนี้.
บทว่า เนว กเยน น วิกฺกเยน ได้แก่ ไม่ใช่ตนเองซื้อ ไม่ใช่ผู้อื่น
ขายให้. บทว่า อุทกูปสฏฺฐํ ได้แก่ ที่เขาหลั่งน้ำสละให้. โทณพราหมณ์
นั้นไปยืนอยู่ที่ประตูของตระกูลที่มีหญิงสาววัยรุ่น เมื่อเขาถามว่าเหตุไรท่านจึง
ยืนอยู่ พราหมณ์ตอบว่า ข้าพเจ้าประพฤติโกมารพรหมจรรย์มา 48 ปี
ข้าพเจ้าจะให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ท่าน ขอท่านจงให้หญิงสาวแก่ข้าพเจ้าเถิด.
พวกเขานำหญิงสาวมาแล้วหลั่งน้ำลงบนมือของพราหมณ์นั้นให้. โทณพราหมณ์
นั้นรับหญิงสาวที่เขาหลั่งน้ำให้เป็นภรรยาก็กลับไป.
บทว่า อติมิฬฺหโช ได้แก่ เกิดในที่สกปรกยิ่ง คือ กองคูถ
ใหญ่. บทว่า ตสฺสสฺส ตัดบทเป็น ตสฺส เอตสฺส บทว่า
ทฺวตฺถา
ได้แก่ ไม่ต้องการเล่น. บทว่า น รตตฺถา ได้แก่ ไม่ต้องการ
ความยินดีในกาม. บทว่า เมถุนํ อุปฺปาเทตฺวา ความว่า พราหมณ์
ให้กำเนิดธิดา หรือบุตร แล้วคิดว่า บัดนี้ประเวณีจักสืบต่อไปจึงออกบวช.
บทว่า สุคตึ สคฺคํ โลกํ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงพรหมโลกเท่านั้น. บทว่า
เทวสโม โหติ ได้แก่เป็นผู้ชื่อว่าเสมอด้วยเทวดา เพราะประกอบด้วยทิพย-
วิหารธรรม. บทว่า ตเมว ปุตฺตสฺสาทํ นิกามยมาโน ความว่า พราหมณ์
ปรารถนาคือต้องการความรักในบุตร ความพอใจในบุตรที่เกิดขึ้นเพราะเห็น
ธิดาหรือบุตรเกิด. บทว่า กุฏฺมฺพํ อชฺฌาวสติ ได้แก่ อยู่ท่ามกล่าง
ทรัพยสมบัติ. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโทณสูตรที่ 2

3. สังคารวสูตร


ว่าด้วยผลของการมีและไม่มีนิวรณ์ 5


[193] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่าข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์แม้ที่ทำการ
สาธยายตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้งในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์
ที่ไม่ทำการสาธยาย และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์แม้ที่ไม่ได้ทำการ
สาธยายตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำ
การสาธยาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจ
อันกามราคะกลุ้มรุม อันกามราคะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น
บุคคลย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์
ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนาน
ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะ
ที่เต็มด้วยน้ำ ซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน บุรุษมีตาดี
มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะอันเต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความ
เป็นจริง แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันกามราคะกลุ้มรุม
อันกามราคะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็น
เครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ไม่เห็น