เมนู

เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง
หยั่งถึงความเกิดขึ้นและดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสเป็นเครื่องให้ถึงความ
สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า กำลัง คือ ปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขบุคคล 5 ประการนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา
จักเป็นผู้ประกอบด้วยกำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ โอตตัปปะ
กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขบุคคล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบวิตถตสูตรที่ 2

อรรถกถาวิตถตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวิตถตสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า กายทฺจฺจริเตน เป็นต้น เป็นตติยาวิภัติลงในอรรถ
ทุติยาวิภัติ. อธิบายว่า ละอาย รังเกียจ ซึ่งกายทุจริตเป็นต้นอันควรละอาย.
ในโอตตัปปนิเทศเป็นตติยาวิภัติลงในอรรถว่า เหตุ. อธิบายว่า เกรงกลัว
เพราะกายทุจริตเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งโอตตัปปะ. บทว่า อารทฺธวิริโย
ได้แก่ ประคองความเพียรไว้ มีใจไม่ท้อถอย. บทว่า ปหานาย แปลว่า
เพื่อละ. บทว่า อุปสมฺปทาย แปลว่า เพื่อได้เฉพาะ. บทว่า ถามวา
ได้แก่ ประกอบด้วยกำลังคือความเพียร. บทว่า ทฬฺหปรกฺกโม ได้แก่
มีความบากบั่นมั่นคง. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเสสุ ได้แก่
ไม่วางธุระ เพียร ไม่ท้อถอยในกุศลธรรมทั้งหลาย.

บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ได้แก่ อันให้ถึงความเกิด ความดับไป
แห่งขันธ์ทั้ง 5 สามารถรู้ปรุโปร่งความเกิดและความเสื่อมได้. บทว่า ปญฺญาย
สมนฺนาคโต
ได้แก่ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา.
บทว่า อริยาย ได้แก่ ตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย ด้วยการข่มไว้และด้วย
การตัดขาด ชื่อว่าบริสุทธิ์. บทว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า ปัญญานั้นท่าน
เรียกว่า นิพเพธิกา เพราะรู้เจาะแทงตลอด อธิบายว่า ประกอบด้วย
นิพเพธิกปัญญานั้น. ในข้อนั้น มรรคปัญญาชื่อว่า นิพเพธิกา เพราะเจาะ
ทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะที่ยังไม่เคยเจาะ ยังไม่เคยทำลายด้วยอำนาจ
สมุจเฉทปหาน. วิปัสสนาปัญญา ชื่อว่า นิพเพธิกา ด้วยอำนาจตทังคปหาน.
หรืออีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาควรจะเรียกว่า นิพเพธิกา เพราะเป็นไปเพื่อได้
มรรคปัญญา. แม้ในบทว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา นี้ มรรคปัญญา
ชื่อว่า สัมมาทุกขักขยคามินี เพราะทำวัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ให้สิ้นไปโดย
ชอบ โดยเหตุ โดยนัย. วิปัสสนาปัญญา ชื่อว่า ทุกขักขยคามินี เพราะทำ
วัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ให้สิ้นไปด้วยอำนาจตทังคปหาน. วิปัสสนาปัญญานั้น
พึงทราบว่า เป็นทุกขักขยคามินี เพราะเป็นไปด้วยการถึงความสิ้นทุกข์ หรือ
ด้วยการได้เฉพาะซึ่งมรรคปัญญา. ในสูตรนี้ท่านกล่าวพละ 5 ปนกันด้วย
ประการฉะนี้.
จบอรรถกถาวิตถตสูตรที่ 2

3. ทุกขสูตร*


ว่าด้วยธรรม 5 ที่ให้เกิดทุกข์และสุข


[3] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกาย
ตายไป พึงหวังได้ทุคติ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา 1 ไม่มีหิริ 1 ไม่มีโอตตัปปะ 1 เกียจคร้าน 1
มีปัญญาทราม 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
นี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อ
แตกกายตายไปพึงหวังได้ทุคติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมอยู่
เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายตายไป
พึงหวังได้สุคติ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศรัทธา 1 มีหิริ 1 มีโอตตัปปะ 1 ปรารภความเพียร 1 มีปัญญา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมอยู่
เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายตายไป
พึงหวังได้สุคติ.
จบทุกขสูตรที่ 3
*สูตรที่ 3-4 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย