เมนู

อรัญญวรรควรรณนาที่ 4


อรรถกถาอารัญญกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอารัญญกสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา ความว่า ไม่รู้การสมาทาน ไม่รู้
อานิสงส์ แต่อยู่ป่าเป็นวัตรโดยไม่รู้ เพราะตนเขลาเฉาโฉด. บทว่า ปาปิจฺโฉ
อิจฺฉาปกโต
ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในความปรารถนาลามกอย่างนี้ว่า เมื่อเรา
อยู่ในป่า ชนทั้งหลายจักทำสักการะด้วยปัจจัย 4 ด้วยคิดว่า ภิกษุนี้ถืออยู่ป่า
เป็นวัตร และจักยกย่องด้วยคุณทั้งหลายมีอาทิว่า ภิกษุนี้เป็นลัชชี ชอบสงัด
ดังนี้ แล้วถูกความปรารถนาลามกนั้นนั่นแหละครอบงำ จึงเป็นผู้ถืออยู่ป่า
เป็นวัตร. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอยู่ป่าโดยความบ้า ชื่อว่าถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะ
ความบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า วณฺณิตํ ความว่า ชื่อว่าองค์แห่งภิกษุ
ผู้ถือการอยู่ป่าวัตรนี้ พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้ายกย่องแล้ว
คือ สรรเสริญแล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร. บทว่า
อิทมตฺถิตํ ความว่า ชื่อว่า อิทมตฺถิ เพราะมีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติ
อันงามนี้ ความเป็นผู้มีความต้องการ ชื่อว่า อิทมตฺถิตา อธิบายว่า อาศัย
ความเป็นผู้ความต้องการนั้นเท่านั้น มิได้อาศัยโลกามิสไร ๆ อื่น. บทที่เหลือ
ในสูตรนี้แต่และในสูตรนอกจากนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอารัญญกสูตรที่ 1
จบอรัญญวรรควรรณนาที่ 4

2. ปังสุกูลิกสูตร*


[182] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 5
จำพวกนี้ ฯลฯ
จบปังสุกูลิกสูตรที่ 2

3. รุกขมูลิกสูตร


[183] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่โคไม้เป็นวัตร 5
จำพวกนี้ ฯลฯ

4. โสสานิกสูตร


[184] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวก
นี้ ฯลฯ
จบโสสานิกสูตรที่ 4

5. อัพโภกาสิกสูตร


[185] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร 5
จำพวกนี้ ฯลฯ
จบอัพโภกาสิกสูตรที่ 5
* สูตรที่ 2 ถึงสูตรที่ 10 อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น