เมนู

อรรถกถาทุสสีลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุสสีลสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า หตูปนิโส ได้แก่ ตัดขาดอุปนิสัย คือ กำจัดเหตุ. บทว่า
ยถาภูตญาณทสฺสนํ ได้แก่ วิปัสสนาอ่อน ๆ ตั้งต้นแต่ญาณกำหนดนามรูป
ไป. บทว่า นิพฺพิทา วิราโค ได้แก่ นิพพิทาความหน่ายและวิราคะสำรอก.
ในสองอย่างนั้น นิพพิทา เป็นวิปัสสนามีกำลัง. วิราคะ เป็นมรรค. บทว่า
วิมุตฺติญาณทสฺสนํ ได้แก่ ผลวิมุตติและปัจจเวกขณญาณ.
จบอรรถกถาทุสสีลสูตรที่ 4

5. อนุคคหสูตร


ว่าด้วยธรรมที่สนับสนุนสัมมาทิฏฐิ


[25] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ 5 อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และเป็นธรรม
มีปัญญาวิมุตติ เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ องค์ 5 เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฏฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว อันการ
สนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว อันวิปัสสนาอนุเคราะห์
แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ 5 เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็น
ผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์.
จบอนุคคหสูตรที่ 5

อรรถกถาอนุคคหสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุคคหสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิขึ้นวิปัสสนา. ในบทว่า
เจโตวิมุตฺติผลา เป็นต้น สมาธิขั้นมรรคผล ชื่อว่า เจโตวิมุตติ. ผลญาณ
ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ. บทว่า สีลานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันศีล
สนับสนุนตามรักษา. บทว่า สุตานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันพาหุสัจจะ
สนับสนุน. บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันธรรมสากัจฉา
สนับสนุน. บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาสมาธิอันเอกัคคตาจิต
สนับสนุน. แต่เพื่อให้ความนี้แจ่มแจ้ง พึงยกตัวอย่างบุรุษปลูกเมล็ดมะม่วง
หวาน ปักเขตไว้โดยรอบรดน้ำตามเวลา ชำระรากตามเวลา นำสัตว์ที่ตกลงไป
ออกตามเวลา ดึงใยแมลงมุมออกตามเวลา แล้วบำรุงมะม่วง. สัมมาทิฏฐิขั้น
วิปัสสนาพึงเห็นดุจการปลูกเมล็ดมะม่วงหวานของบุรุษนั้น. การที่ศีลสนับสนุน
พึงเห็นดุจการปักเขต การที่สุตะสนับสนุนดุจการรดน้ำ การที่การสนทนาธรรม
สนับสนุนก็ดุจการชำระราก การที่สมถะสนับสนุนด้วยการขจัดอันตรายของ
ฌานและวิปัสสนาดุจการนำสัตว์ออก การที่วิปัสสนามีกำลังสนับสนุนก็ดุจ
การดึงใยแมลงมุมออก ความที่สัมมาทิฏฐิ มีมูลอันคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านี้
สนับสนุนแล้วจำเริญด้วยทิฏฐิเป็นมรรคแล้ว อำนวยซึ่งเจโตวิมุตติผล และ
ปัญญาวิมุตติผลเร็วพลัน พึงเห็นดุจความที่ต้นไม้อันบุรุษอุดหนุนอย่างนี้เจริญ
งอกงามแล้วให้ผลเร็วพลัน.
จบอรรถกถาอนุคคหสูตรที่ 5