เมนู

อรรถกถาทุสสีลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุสสีลสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า หตูปนิโส ได้แก่ ตัดขาดอุปนิสัย คือ กำจัดเหตุ. บทว่า
ยถาภูตญาณทสฺสนํ ได้แก่ วิปัสสนาอ่อน ๆ ตั้งต้นแต่ญาณกำหนดนามรูป
ไป. บทว่า นิพฺพิทา วิราโค ได้แก่ นิพพิทาความหน่ายและวิราคะสำรอก.
ในสองอย่างนั้น นิพพิทา เป็นวิปัสสนามีกำลัง. วิราคะ เป็นมรรค. บทว่า
วิมุตฺติญาณทสฺสนํ ได้แก่ ผลวิมุตติและปัจจเวกขณญาณ.
จบอรรถกถาทุสสีลสูตรที่ 4

5. อนุคคหสูตร


ว่าด้วยธรรมที่สนับสนุนสัมมาทิฏฐิ


[25] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ 5 อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และเป็นธรรม
มีปัญญาวิมุตติ เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ องค์ 5 เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฏฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว อันการ
สนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว อันวิปัสสนาอนุเคราะห์
แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ 5 เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็น
ผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์.
จบอนุคคหสูตรที่ 5