เมนู

อรรถกถาวณิชชสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวณิชชสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน ได้แก่
ผู้ถึงสรณะ 3. บทว่า สตฺถวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธ
นั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มํสวณิชฺชา
ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขา
ทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา ได้แก่
ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้
ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาวณิชชสูตรที่ 7

8. ราชสูตร


ว่าด้วยการมีศีลไม่เป็นเหตุให้ได้รับโทษ


[178] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้น
เป็นไฉน คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต พระราชาจับเขาประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาต
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า มิได้เห็นหรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น มิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต พระราชาจับเขามาประหาร

จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากปาณา-
ติบาต แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ฆ่าหญิง
หรือชายตาย พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตาม
ปัจจัย เพราะเหตุแห่งปาณาติบาต ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรม
เห็นปานนี้บ้างหรือไม่.
ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว
และจักได้ฟังต่อไป.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน
คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละอทิน-
นาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ
หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากอทินนาทาน.
ภิ. มิได้เห็นหรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดีล่ะ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น มิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน พระราชาจับเขามาประหาร
จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากอทินนาทาน
แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ลักทรัพย์เขามา
จากบ้านหรือจากป่า พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำ
ตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งอทินนาทาน ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรม
เห็นปานนี้บ้างหรือไม่.
ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว
และจักได้ฟังต่อไป.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน
คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละ

กาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พระราชาจับเขามาประหาร
จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร.
ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นมิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พระราชาจับเขามาประหาร
จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้
ละเมิดประเพณีในหญิงหรือบุตรีของผู้อื่น พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งกาเมสุมิจฉาจาร ท่านทั้งหลาย
ได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรมเห็นปานนี้บ้างหรือไม่.
ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว
และจักได้ฟังต่อไป.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน
คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละ
มุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ
หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากมุสาวาท.
ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นมิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากมุสาวาท แต่ว่า
บาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ทำลายประโยชน์ของ
คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีด้วยมุสาวาท พระราชาจังเขามาประหาร จองจำ

เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งมุสาวาท ท่านทั้งหลายได้เห็น
หรือได้ฟังบาปกรรมเห็นปานนี้บ้างหรือไม่.
ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว
และจักได้ฟังต่อไป.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน
คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละการ
ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการ
ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท พระราชาจับเขา
มาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงด
เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.
ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นหรือมิได้ฟังมาแล้วว่า
คนผู้นี้เป็นผู้ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะ
เหตุแห่งการงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ประกอบ
การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แล้วฆ่าหญิง
หรือชายตาย ลักทรัพย์เขามาจากบ้านหรือจากป่า ละเมิดประเพณีในหญิงหรือ
บุตรีของผู้อื่น ทำลายประโยชน์ของคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีด้วยมุสาวาท
พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุ

แห่งการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ท่านทั้ง
หลายได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรมเห็นปานนี้บ้างหรือไม่.
ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว
และจักได้ฟังต่อไป.
จบราชสูตรที่ 8

อรรถกถาราชสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในราชสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปพฺพาเชนฺติ คือให้ขับออกจากแว่นแคว้น. บทว่า ยถา
ปจฺจยํ วา กโรนฺติ
ได้แก่ ทำตามความประสงค์ ทำตามอัธยาศัย. บทว่า
ตเถว ปาปกมฺมํ ปเวเทนฺติ ได้แก่ บอกกล่าวกรรมที่ผู้นั้นทำแก่ผู้อื่น.
จบอรรถกถาราชสูตรที่ 8

9. คิหิสูตร


ว่าด้วยผลของการรักษาศีล 5


[279] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแวดล้อมด้วยอุบาสก
ประมาณ 500 คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระ
สารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่ง ผู้นุ่ง
ห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ และมีปกติได้ตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน