เมนู

อรรถกถาปีติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปีติสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กินฺติ มยํ ได้แก่ เราพึงเข้าถึง (ปวิเวกปีติ) ด้วยอุบายไร.
บทว่า ปวิเวกปีตึ ได้แก่ ปีติที่อาศัยปฐมฌานและทุติยฌานเกิดขึ้น. บทว่า
กามูปสญฺหิติ ได้แก่ ทุกข์อาศัยกาม คือ อาศัยกามสองอย่าง ปรารภกาม
สองอย่างเกิดขึ้น. บทว่า อกุสลูปสญฺหิตํ ความว่า เมื่อคิดว่าเราจักยิงเนื้อ
สุกรเป็นต้น ดังนี้ ยิงลูกศรพลาดไป ทุกขโทมนัสอาศัยอกุศลอย่างนี้ว่า เรา
ยิงพลาดไปเสียแล้ว ดังนี้ เกิดขึ้น ชื่อว่าประกอบด้วยอกุศล. เมื่อยิงไม่พลาด
ไปในฐานะเช่นนั้น สุขโสมนัสเกิดขึ้นว่า เรายิงดีแล้ว เราประหารดีแล้ว
ดังนี้ ชื่อว่า ประกอบด้วยอกุศล. แต่ทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอุปกรณ์มี
ทานเป็นต้น ยังไม่พร้อม พึงทราบว่า ประกอบด้วยกุศล.
จบอรรถกถาปีติสูตรที่ 6

7. วณิชชสูตร


ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ


[177] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 ประการนี้ อันอุบาสก
ไม่พึงกระทำ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ การค้าขายศัสตรา 1 การค้าขายสัตว์ 1
การค้าขายเนื้อสัตว์ 1 การค้าขายน้ำเมา 1 การค้าขายยาพิษ 1 ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย การค้าขาย 5 ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ.
จบวณิชชสูตรที่ 7

อรรถกถาวณิชชสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวณิชชสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน ได้แก่
ผู้ถึงสรณะ 3. บทว่า สตฺถวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธ
นั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มํสวณิชฺชา
ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขา
ทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา ได้แก่
ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้
ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาวณิชชสูตรที่ 7

8. ราชสูตร


ว่าด้วยการมีศีลไม่เป็นเหตุให้ได้รับโทษ


[178] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้น
เป็นไฉน คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต พระราชาจับเขาประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาต
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า มิได้เห็นหรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น มิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต พระราชาจับเขามาประหาร