เมนู

อรรถกถาภัททชิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในภัททชิสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิภู ได้แก่ ครอบงำตั้งอยู่ คือ เป็นใหญ่. บทว่า อนภิภูโต
ได้แก่ อันคนอื่นครอบงำมิได้. บทว่า อญฺญทตฺถุ เป็นนิบาต ใช้ในคำว่า
ส่วนเดียว. อธิบายว่า เห็นด้วยทัสสนะย่อมเห็นทั้งหมด บทว่า วสวตฺตี ได้แก่
ยังชนทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจ. บทว่า ยถา ปสฺสโต ได้แก่ เห็นอาการของ
อารมณ์ไม่ว่าจะเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์. บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ
ขโย โหติ
ได้แก่ พระอรหัตย่อมเกิดขึ้นในลำดับนั่นเอง. แม้ในบทว่า ยถา
สุณโต
นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปอันใดด้วยจักษุแล้ว
เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุรพระอรหัตในลำดับ ติดต่อกันนั่นแหละพระอรหัตของภิกษุ
นั้น ย่อมชื่อว่ามีในลำดับของจักขุวิญญาณ พระอานนทเถระหมายถึงพระอรหัต
นั้น จึงกล่าวว่า นี้เป็นยอดแห่งการเห็น. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ยถา สุขิตสฺส ได้แก่ ถึงความสุขด้วยมรรคสุขใด. บทว่า
อนนฺตรา อาสวานํ ขโย โหติ ได้แก่ พระอรหัตย่อมเกิดขึ้นในลำดับ
แห่งมรรคสุขนั้นนั่นเอง. บทว่า อิทํ สุขานํ อคฺคํ ได้แก่ มรรคสุขนี้
เป็นยอดแห่งความสุขทั้งหลายะ. แม้ในบทว่า ยถา สญฺญิสฺส นี้ ท่านประสงค์
เอามรรคสัญญานั่นเอง. บทว่า ยถาภูตสฺส ได้แก่ ตั้งอยู่แล้วในภพใด คือ
ในอัตภาพใด. บทว่า อนนฺตรา ได้แก่ พระอรหัตเกิดขึ้นแล้วในลำดับ
นั่นเอง. บทว่า อิทํ ภวานํ อคฺคํ ได้แก่ อัตภาพสุดท้ายนี้ ชื่อว่าเป็น