เมนู

อรรถกถานิสันติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนิสันติสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เพราะกำหนดจดจำได้เร็ว. ชื่อว่าเรียนได้
อย่างดี เพราะรับเอาไว้ดีแล้ว. บทว่า อตฺถกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดใน
อรรถกถา. บทว่า ธมฺมกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในบาลี. บทว่า นิรุตฺติ-
กุสโล
ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในภาษา. บทว่า พฺยญฺชนกุสโล ได้แก่ เป็น
ผู้ฉลาดในประเภทแห่งอักษร. บทว่า ปุพฺพาปรกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาด
ในเบื้องต้นเบื้องปลาย 5 คือ เบื้องต้นเบื้องปลายของอรรถกถา เบื้องต้น
เบื้องปลายของบาลี เบื้องต้นเบื้องปลายของบท เบื้องต้นเบื้องปลายของอักษร
เบื้องต้นเบื้องปลายของอนุสนธิ. ในเบื้องต้นเบื้องปลายเหล่านั้น รู้อรรถ
เบื้องต้นด้วยอรรถเบื้องปลาย รู้อรรถเบื้องปลายด้วยอรรถเบื้องต้น ชื่อว่า
เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอรรถกถา. ถามว่าอย่างไร. ตอบว่า
ก็ภิกษุนั้น เมื่อท่านเว้นอรรถเบื้องต้น กล่าวแต่อรรถเบื้องปลาย ย่อมรู้ว่า
อรรถเบื้องต้นมีอยู่ดังนี้ แม้เมื่อท่านเว้นอรรถเบื้องปลาย กล่าวแต่อรรถเบื้องต้น
ก็รู้ว่าอรรถเบื้องปลายมีอยู่ดังนี้ เมื่อท่านเว้นอรรถทั้งสอง กล่าวแต่อรรถใน
ท่ามกลาง ย่อมรู้ว่าอรรถทั้งสองมีอยู่ดังนี้ เมื่อท่านเว้นอรรถในท่ามกลาง
กล่าวแต่อรรถทั้งสองส่วน ย่อมรู้ว่าอรรถในท่ามกลางมีอยู่ดังนี้. แม้ในเบื้องต้น
และเบื้องปลายแห่งบาลี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ก็ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เมื่อ
พระสูตรเริ่มศีลเป็นต้นไป ในที่สุดก็มาถึงอภิญญา 6 ภิกษุย่อมรู้ว่า พระสูตร
ไปตามอนุสนธิ ตามกำหนดบท ดังนี้ เมื่อพระสูตรเริ่มแต่ทิฏฐิไป เบื้องปลาย