เมนู

อรรถกถาโจทนาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาโจทนาสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โจทเกน ความว่า ภิกษุผู้เป็นโจทก์ โจทด้วยโจทนวัตถุ 4
คือ ชี้วัตถุ ชี้อาบัติ ห้ามสังวาส ห้ามสามีจิกรรม. ในบทว่า กาเลน วกฺขามิ
ใน อกาเลน
นี้ พระสารีบุตรเถระกล่าวถึงกาลของภิกษุผู้ถูกโจท [จำเลย]
ไม่ได้กล่าวถึงกาลของโจทก์ [ผู้ฟ้อง]. จริงอยู่ ผู้ที่จะโจทผู้อื่น ไม่ควรโจท
ในท่ามกลางบริษัท หรือในโรงอุโบสถปวารณา หรือที่หอนั่งและหอฉัน
เป็นต้น. ในเวลานั่งในที่พักกลางวัน ควรขอโอกาสอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ
จงให้โอกาส ผมประสงค์จะพูดกะท่านดังนี้ แล้วจึงโจท. เพ่งถึงบุคคล บุคคล
เหลาะแหละใดกล่าวคำไม่จริงยกโทษแก่ภิกษุ บุคคลเหลาะแหละนั้นไม่ต้อง
ขอโอกาสพึงโจทเลย. บทว่า ภูเตน คือ โดยความจริง โดยสภาพ. บทว่า
สณฺเหน คือ โดยสุภาพอ่อนโยน. บทว่า อตฺถสญฺหิเตน ได้แก่
ประกอบด้วยความเป็นผู้หวังดี ใคร่ประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อวิปฺปฏิสาโร
อุปทหิตพฺโพ
ได้แก่ ไม่ให้เกิดความเก้อเขิน. บทว่า อลนฺเต อวิปฺ-
ปฏิสาราย
ได้แก่ ท่านควรเป็นผู้ไม่เก้อเขิน. บทที่เหลือในสูรนี้มีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโจทนาสูตรที่ 7