เมนู

ถึงอย่างนั้นก็มิใช่ตำหนิพระอานนทเถระเท่านั้น พึงทราบว่าเป็นการตำหนิภิกษุ
ทั้งหมดที่อยู่กันพร้อมหน้านั่นแล.
บทว่า วิหารํ ได้แก่ พระคันธกุฎี. บทว่า อนจฺฉริยํ ได้แก่
ไม่น่าอัศจรรย์. บทว่า ยถา เป็นคำกล่าวเหตุ. ในบทว่า อายสฺมนฺตญฺ-
เญเวตฺถ อุปวาณํ ปฏิภาเสยฺย
พระอานนทเถระชี้แจงว่าเมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงปรารภเหตุนี้ ทรงยกเรื่องนี้มาอ้างแล้ว คำตอบจงแจ่มแจ้ง
จงปรากฏแก่ท่านอุปวาณะเถิด. บทว่า สารชฺชํ โอกฺกนฺตํ ได้แก่ เกิด
โทมนัสใจ. ท่านอุปวาณะกล่าวถึงศีลของพระขีณาสพเป็นต้นด้วยบทมีอาทิว่า
สีลวา ดังนี้. บทว่า ขณฺฑิจฺเจน เป็นต้น ท่านอุปวาณะกล่าว ด้วยถาม
ถึงเหตุแห่งสักการะเป็นต้น ในข้อนี้มีอธิบายว่า สพรหมจารีทั้งหลายพึงสักการะ
เพื่อนพรหมจารีด้วยเหตุมีฟันหักเป็นต้น.
จบอรรถกถานิโรธสูตรที่ 6

7. โจทนาสูตร


ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์


[167] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม 5 ประการ
ไว้ภายในก่อนแล้วจึงโจทย์ผู้อื่น ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ธรรมว่า
เราจักกล่าวโดยกาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร 1 จักกล่าวด้วยเรื่องจริง
จักไม่กล่าวด้วยเรื่องไม่จริง 1 จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วย
คำหยาบ 1 จักกล่าวด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่อง