เมนู

อรรถกถานิโรธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺเถตํ ฐานํ แปลว่า เหตุนั้นมีอยู่. บทว่า โน เจ
ทิฏฺเฐว ธมฺเม อญฺญํ อาราเธยฺย
ความว่า หากภิกษุนั้นยังไม่บรรลุ
พระอรหัตในอัตภาพนี้. บทว่า กพฬิงฺการภกฺขานํ เทวานํ ได้แก่
เทวดาชั้นกามาวจร. บทว่า อญฺญตรํ มโนมยํ กายํ ได้แก่ หมู่พรหม
ชั้นสุทธาวาสหมู่ใดหมู่หนึ่ง ซึ่งเกิดด้วยใจที่ประกอบด้วยฌาน. บทว่า
อุทายี ได้แก่ โลฬุทายี. โลฬุทายีนั้นได้สดับว่า มโนมยํ ดังนี้จึงค้านว่า
ไม่เป็นการสมควร. เพื่อป้องกันลัทธิของพวกคนพาลที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่าน
สารีบุตรจะรู้อะไร ซึ่งพวกภิกษุยังพากันคัดค้านถ้อยคำอย่างนี้ต่อหน้าดังนี้
พระเถระไม่หยุดถ้อยคำนั้นเสียเอง จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บทว่า
อตฺถินาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่าอ้างถึง. ด้วยเหตุนั้น บทว่า อชฺฌุเปกฺ-
ขิสฺสถ
ในที่นี้ท่านจึงทำให้เป็นศัพท์อนาคตกาล. ในสูตรนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า
ดูก่อนอานนท์ พวกเธอจงเพ่งดูภิกษุผู้เป็นเถระถูกเบียดเบียนอย่างนี้เราจะไม่ทน
ต่อพวกเธอ ไม่อดทน ไม่อดกลั้นละดังนี้. ถามว่า เพราะเหตุใด พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้กะพระอานนทเถระเท่านั้น. ตอบว่า เพราะพระ-
อานนทเถระเป็นคลังธรรม. จริงอยู่ พระอุทายีเมื่อกล่าวต่อท่านผู้เป็นคลังธรรม
อย่างนี้ จึงเป็นภาระที่จะห้ามปราม. อีกอย่างหนึ่ง พระอานนทเถระก็เป็นปิยสหาย
ของพระสารีบุตรเถระ ด้วยเหตุนั้นจึงเป็นภาระของพระอานนทเถระ. ในข้อ
นั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงตำหนิพระอานนทเถระจึงตรัสอย่างนี้ก็จริง