เมนู

หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาด
สาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในจุตูปปาตญาณนั้น ๆ โดยแน่นอน.
ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จใน
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตตินั้น ๆ โดยแน่นอน.
จบอุปกิเลสสูตรที่ 3

อรรถกถาอุปกิเลสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุปกิเลสสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า น จ ปภสฺสรํ คือ ไม่สว่างไสว. บทว่า ปภงฺคุ จ
คือ มีสภาพผุพัง. บทว่า อโย คือ โลหะดำ (เหล็ก). บทว่า โลหํ ได้แก่
โลหะที่เหลือเว้นโลหะ 4 ที่ตรัสไว้แล้วในที่นี้. บทว่า สชฺฌุํ ได้แก่ เงิน.
บทว่า จิตฺตสฺส ได้แก่ กุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ 4. ถามว่า อุปกิเลส
ย่อมมีแก่กุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ 3 ยกไว้ก่อน แต่จะมีแก่โลกุตรภูมิได้อย่างไร.
ตอบว่า โดยไม่ให้กุศลจิตเกิดขึ้น. อุปกิเลสทั้งหลายไม่ให้กุศลจิตเกิดขึ้นโดย
ส่วนใด ชื่อว่า อุปกิเลสทั้งหลายก็ย่อมมีทั้งแก่โลกิยกุศลจิต ทั้งแก่โลกุตร-
กุศลจิต โดยส่วนนั้นนั่นเอง. บทว่า ปภงฺคุ จ ได้แก่ มีสภาพผุพัง
เพราะแหลกละเอียดไปในอารมณ์. บทว่า สมฺมาสมาธิยติ อาสวานํ ขยาย
ได้แก่ ย่อมตั้งมั่นด้วยเหตุการณ์เพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตกล่าวคือความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ทรงแสดงถึงพระขีณาสพผู้ชำระจิต

ให้หมดจด แล้วตั้งอยู่ในอรหัตผล. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง
แสดงอภิญญาปฏิเวธการแทงทลุปรุโปร่งของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสคำเป็น
อาทิว่า ยสฺส ยสฺส จ ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ 3

4. ทุสสีลสูตร


ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล


[24] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ
แล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะ
ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อ
ยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทา และวิราคะ ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ
ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสนะ ของภิกษุผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น
ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กะพี้ก็ไม่ถึงความ
บริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ
ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัย
ขาดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ
ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาและ
วิราคะ ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว