เมนู

การไม่ได้โภชนะคือผลแห่งสมณธรรม ดุจการไม่ได้โภชนะอันเป็นที่สบาย
ความไม่มีสมถะและวิปัสสนาดุจการไม่ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย ความไม่มีผู้
เยียวยากิเลสด้วยโอวาทานุสาสนี ดุจการไม่ได้ผู้อุปฏฐากที่เหมาะสม ความไม่ได้
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ทำให้บรรลุนิพพาน ดุจการไม่ได้
ผู้นำไปให้ถึงเขตบ้าน การที่ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา ทำกรุณาให้เกิดในบุคคลนั้น
แล้ว จิต [อาฆาต ] ดับไป พึงเห็นดุจการที่บุรุษคนใดคนหนึ่งเห็นคนไข้อนาถา
แล้วอุปฐากด้วยความกรุณา ฉะนั้น.
บทว่า อจฺโฉทกา คือน้ำใส. บทว่า สาโตทกา คือน้ำหวาน.
บทว่า สีโตทกา คือน้ำเย็นทั่วตัว. บทว่า เสตกา ได้แก่ มีสีขาวในที่
คลื่นแตก. บทว่า สุปติฏฺฐา คือมีท่าเรียบ. ในบทว่า เอวเม โข นี้
ผู้อยู่ด้วยเมตตาพึงเห็นดุจบุรุษถูกแดดเผา บุรุษผู้มีทวารทั้งหมดบริสุทธิ์ ดุจ
สระโบกขรณีนั้น การทำสิ่งที่ต้องการในทวารเหล่านั้นให้เป็นอารมณ์แล้ว
[จิตอาฆาตดับ] พึงทราบดุจการอาบ ดื่ม และขึ้นไปนอนที่ร่มไม้แล้วไปตาม
ความต้องการ ฉะนั้น.
จบอรรถกถาอาฆาตวินยสูตรที่ 2

3. สากัจฉาสูตร


ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา


[163] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ?
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้
ปัญหาที่มาด้วยศีลสัมปทากถาได้ 1 เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเอง และ
เป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยสมาธิสัมปทากถาได้ 1 เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดย
ตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยปัญญาสัมปทากถาได้ 1 เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยวิมุตติโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติสัมปทากถาได้ 1
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วย
วิมุตติญาณทัสสนสัมปทากถาได้ 1.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล
เป็นผู้ควรเพื่อสนทนากันเพื่อนพรหมจรรย์.
จบสากัจฉาสูตรที่ 3
สูตรที่ 3-4 มีนัยอันท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.

4. สาชีวสูตร


ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรอยู่ร่วมกัน


[164] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
เป็นผู้ควรเป็นอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ