เมนู

อรรถกถาทุติยอาฆาตวินยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอาฆาตวินยสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า อาฆาตปฏิวินยะ เพราะความระงับอาฆาตในบุคคล 5 เหล่า
นั้นบ้าง เพราะควรระงับอาฆาตด้วยธรรม 5 เหล่านั้นบ้าง. จริงอยู่ บทว่า
ปฏิวินยา นี้เป็นชื่อของวัตถุที่ควรระงับบ้าง เหตุที่ควรระงับบ้าง. ทั้งสอง
อย่างนั้นก็ถูกในที่นี้. ก็บุคคลทั้งหลาย 5 เป็นปฏิวินยวัตถุ (วัตถุที่ควรระงับ)
ข้อปฏิบัติ 5 ด้วยอุปมา 5 ข้อ ชื่อปฏิวินยการณะ (เหตุที่ควรระงับ). บทว่า
ลภติ จ กาเลน กาลํ เจตโต วิวรํ เจตโส ปสาทํ ความว่า เขายัง
ได้ช่อง กล่าวคือ โอกาสที่จิตอันเป็นสมถะและวิปัสสนาเกิดได้และความผ่องใส
กล่าวคือความเป็นผู้ผ่องใสด้วยศรัทธาเป็นครั้งคราว.
บทว่า รถิยาย ได้แก่ ระหว่างวิถี. บทว่า นนฺตกํ ได้แก่ ท่อน
ผ้าขี้ริ้ว. บทว่า นิคฺคหิตฺวา ได้แก่ เหยียบแล้ว. บทว่า โย ตตฺถ สาโร
ได้แก่ ส่วนใดในผ้าผืนนั้นยังดีอยู่. บทว่า ตํ ปริปาเตตฺวา ได้แก่ ฉีก
ส่วนนั้น. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นว่าผู้อยู่ด้วยเมตตา ดุจภิกษุ
ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บุคคลผู้มีเวรดุจผ้าขี้ริ้วบนถนน ความเป็นผู้มีกาย
สมาจารไม่บริสุทธิ์ดุจท่อนผ้าเปื่อย ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ดุจท่อนผ้า
ยังดี พึงเห็นว่าเวลาที่ไม่ใส่ใจถึงความเป็นผู้มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ ใส่ใจถึง
ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ดับจิตตุบาทในคนที่เป็นศัตรูกันแล้วอยู่อย่าง
สบาย ดุจเวลาที่ทิ้งท่อนผ้าเปื่อย ถือเอาผ้าท่อนดี เย็บ ย้อมแล้วห่มจาริกไป.
บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺธ ได้แก่ ถูกสาหร่ายและแหนปกคลุม.
บทว่า มมฺมปเรโต ได้แก่ เหงื่อไหลเพราะร้อน. บทว่า กิลนฺโต ได้แก่

เดินทางเหนื่อยมา. บทว่า ตสิโต ได้แก่ ถูกความอยากครอบงำ. บทว่า
ปิปาสิโต ได้แก่ ประสงค์จะดื่มน้ำ. บทว่า อปวิยูหิตฺวา ได้แก่ แหวก.
บทว่า ปิวิตฺวา ได้แก่ ดื่มน้ำใส. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ ภิกษุผู้อยู่ด้วย
เมตตา พึงเห็นดุจบุรุษถูกความร้อนเผา ความเป็นผู้มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ก็ดุจ
สาหร่ายและแหน ความเป็นผู้มีกายสมาจารบริสุทธิ์ก็ดุจน้ำใส เวลาที่ภิกษุไม่ใส่
ใจถึงความเป็นผู้มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ แล้วใส่ใจถึงความเป็นผู้มีกายสมาจาร
บริสุทธิ์ ยังจิตตุบาทในคนมีเวรกันให้ดับไปแล้วอยู่อย่างสบาย พึงเห็นดุจ
บุรุษแหวกสาหร่ายและแหน แล้วดื่มน้ำใสแล้วเดินไป ฉะนั้น.
บทว่า โขเภสฺสามิ คือให้กระเพื่อม. บทว่า โลเฬสฺสามิ คือ
จักทำให้ขุ่น บทว่า อปฺเปยฺยมฺปิ นํ กริสฺสามิ ได้แก่ จักทำให้ดื่มไม่ได้.
บทว่า จตุคุณฺฑิโก ได้แก่ เอาเข่าทั้งสอง และมือทั้งสองหมอบไปบนแผ่นดิน.
บทว่า โคปิตกํ ปิวิตฺวา ได้แก่ ก้มลงดื่มอย่างแม่โค. ในบทว่า เอวเมว โข
นี้ ผู้ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตาพึงเห็นดุจบุรุษถูกความร้อนเผา. คนมีเวรก็ดุจรอยโค
คุณเล็กน้อยในภายในของภิกษุนั้นดุจน้ำนิดหน่อยในรอยโค การที่ภิกษุนั้นไม่
ใส่ใจถึงความเป็นผู้มีกายสมาจาร และวจีสมาจารอันไม่บริสุทธิ์ แล้วใส่ใจถึง
การได้ปีติและปราโมทย์ อันเป็นความผ่องใสแห่งจิต เพราะอาศัยการฟังธรรม
ตามกาลอันควร แล้วยังจิตตุบาทให้ดับไป พึงเห็นดุจบุรุษหมอบก้มลงดื่มน้ำ
อย่างแม่โค หลีกไปฉะนั้น.
บทว่า อาพาธิโก ได้แก่ เจ็บป่วยด้วยโรคของแสลง ที่ทำลาย
อิริยาบถ. บทว่า ปุรโตปิสฺส แปลว่า พึงมีอยู่ข้างหน้า. บทว่า อนยพฺพยสนํ
ได้แก่ ความไม่เจริญคือความพินาศ. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ คนที่ประกอบ
ด้วยธรรมส่วนคำทั้งหมด พึงเห็นดุจคนไข้อนาถา สงสารอันหาที่สุดเบื้องต้น
ไม่ได้ดุจทางไกล ความที่นิพพานไกล ดุจความที่บ้านไกลทั้งข้างหน้าข้างหลัง

การไม่ได้โภชนะคือผลแห่งสมณธรรม ดุจการไม่ได้โภชนะอันเป็นที่สบาย
ความไม่มีสมถะและวิปัสสนาดุจการไม่ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย ความไม่มีผู้
เยียวยากิเลสด้วยโอวาทานุสาสนี ดุจการไม่ได้ผู้อุปฏฐากที่เหมาะสม ความไม่ได้
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ทำให้บรรลุนิพพาน ดุจการไม่ได้
ผู้นำไปให้ถึงเขตบ้าน การที่ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา ทำกรุณาให้เกิดในบุคคลนั้น
แล้ว จิต [อาฆาต ] ดับไป พึงเห็นดุจการที่บุรุษคนใดคนหนึ่งเห็นคนไข้อนาถา
แล้วอุปฐากด้วยความกรุณา ฉะนั้น.
บทว่า อจฺโฉทกา คือน้ำใส. บทว่า สาโตทกา คือน้ำหวาน.
บทว่า สีโตทกา คือน้ำเย็นทั่วตัว. บทว่า เสตกา ได้แก่ มีสีขาวในที่
คลื่นแตก. บทว่า สุปติฏฺฐา คือมีท่าเรียบ. ในบทว่า เอวเม โข นี้
ผู้อยู่ด้วยเมตตาพึงเห็นดุจบุรุษถูกแดดเผา บุรุษผู้มีทวารทั้งหมดบริสุทธิ์ ดุจ
สระโบกขรณีนั้น การทำสิ่งที่ต้องการในทวารเหล่านั้นให้เป็นอารมณ์แล้ว
[จิตอาฆาตดับ] พึงทราบดุจการอาบ ดื่ม และขึ้นไปนอนที่ร่มไม้แล้วไปตาม
ความต้องการ ฉะนั้น.
จบอรรถกถาอาฆาตวินยสูตรที่ 2

3. สากัจฉาสูตร


ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา


[163] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ