เมนู

อรรถกถาทุติยอาฆาตวินยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอาฆาตวินยสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า อาฆาตปฏิวินยะ เพราะความระงับอาฆาตในบุคคล 5 เหล่า
นั้นบ้าง เพราะควรระงับอาฆาตด้วยธรรม 5 เหล่านั้นบ้าง. จริงอยู่ บทว่า
ปฏิวินยา นี้เป็นชื่อของวัตถุที่ควรระงับบ้าง เหตุที่ควรระงับบ้าง. ทั้งสอง
อย่างนั้นก็ถูกในที่นี้. ก็บุคคลทั้งหลาย 5 เป็นปฏิวินยวัตถุ (วัตถุที่ควรระงับ)
ข้อปฏิบัติ 5 ด้วยอุปมา 5 ข้อ ชื่อปฏิวินยการณะ (เหตุที่ควรระงับ). บทว่า
ลภติ จ กาเลน กาลํ เจตโต วิวรํ เจตโส ปสาทํ ความว่า เขายัง
ได้ช่อง กล่าวคือ โอกาสที่จิตอันเป็นสมถะและวิปัสสนาเกิดได้และความผ่องใส
กล่าวคือความเป็นผู้ผ่องใสด้วยศรัทธาเป็นครั้งคราว.
บทว่า รถิยาย ได้แก่ ระหว่างวิถี. บทว่า นนฺตกํ ได้แก่ ท่อน
ผ้าขี้ริ้ว. บทว่า นิคฺคหิตฺวา ได้แก่ เหยียบแล้ว. บทว่า โย ตตฺถ สาโร
ได้แก่ ส่วนใดในผ้าผืนนั้นยังดีอยู่. บทว่า ตํ ปริปาเตตฺวา ได้แก่ ฉีก
ส่วนนั้น. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นว่าผู้อยู่ด้วยเมตตา ดุจภิกษุ
ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บุคคลผู้มีเวรดุจผ้าขี้ริ้วบนถนน ความเป็นผู้มีกาย
สมาจารไม่บริสุทธิ์ดุจท่อนผ้าเปื่อย ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ดุจท่อนผ้า
ยังดี พึงเห็นว่าเวลาที่ไม่ใส่ใจถึงความเป็นผู้มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ ใส่ใจถึง
ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ดับจิตตุบาทในคนที่เป็นศัตรูกันแล้วอยู่อย่าง
สบาย ดุจเวลาที่ทิ้งท่อนผ้าเปื่อย ถือเอาผ้าท่อนดี เย็บ ย้อมแล้วห่มจาริกไป.
บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺธ ได้แก่ ถูกสาหร่ายและแหนปกคลุม.
บทว่า มมฺมปเรโต ได้แก่ เหงื่อไหลเพราะร้อน. บทว่า กิลนฺโต ได้แก่