เมนู

8. สารัชชสูตร*


ว่าด้วยธรรมทำให้ครั่นคร้ามและให้กล้าหาญ


[158] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมถึงความครั่นคร้าม ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา 1 เป็นผู้ทุศีล 1 เป็นผู้ได้สดับน้อย 1 เป็นผู้เกียจคร้าน 1
เป็นผู้มีปัญญาทราม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5
ประการนี้แล ย่อมถึงความครั่นคร้าม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้ ย่อม
เป็นผู้แกล้วกล้า ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศรัทธา 1 เป็นผู้มีศีล 1 เป็นผู้ได้สดับมาก 1 เป็นผู้ปรารภ
ความเพียร 1 มีปัญญา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
5 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า.
จบสารัชชสูตรที่ 8

9. อุทายิสูตร


ว่าด้วยองค์คุณแห่งพระธรรมกถึก


[159] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
ใกล้เมืองโกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีอันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม
แล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์
* อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น

บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่
แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการไว้
ภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า
เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ 1 เราจักแสดงอ้างเหตุผล 1 เราจัก
แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู 1 เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม 1
เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น 1
แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ดูก่อนอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรม
แก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการนี้ไว้ในภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น.
จบอุทายิสูตรที่ 9

อรรถกถาอุทายิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุปุพฺพิกถํ กเถสฺสามิ ความว่า ยกลำดับแห่งเทศนา
อย่างนี้ว่า ศีลในลำดับทาน สวรรค์ในลำดับศีล หรือบทพระสูตร หรือบทคาถา
ใด ๆ หรือพึงตั้งจิตว่า เราจักกล่าวกถาสมควรแก่บทนั้น ๆ แล้วแสดงธรรม
แก่ผู้อื่น. บทว่า ปริยายทสฺสาวี ได้แก่ แสดงถึงเหตุนั้น ๆ แห่งเนื้อความ