เมนู

ได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็น
ถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำ
ดีแก่ผู้มีปัญญา ? เพราะผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่
โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้
ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีปัญญานั้น ย่อมเห็นปัญญาสัมปทาในตน
และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภ
ปัญญาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล 5 จำพวกนี้แล ย่อมเป็น
ถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล.
จบทุกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาทุกถาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุกถาสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุคฺคลํ อุปนิธาย ความว่า อ้างถึงบุคคลนั้นแล้วทำให้
เป็นพยาน. บทว่า กจฺฉมานาย แปลว่า กล่าว คำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อ
ความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาทุกถาสูตรที่ 7

8. สารัชชสูตร*


ว่าด้วยธรรมทำให้ครั่นคร้ามและให้กล้าหาญ


[158] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมถึงความครั่นคร้าม ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา 1 เป็นผู้ทุศีล 1 เป็นผู้ได้สดับน้อย 1 เป็นผู้เกียจคร้าน 1
เป็นผู้มีปัญญาทราม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5
ประการนี้แล ย่อมถึงความครั่นคร้าม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้ ย่อม
เป็นผู้แกล้วกล้า ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศรัทธา 1 เป็นผู้มีศีล 1 เป็นผู้ได้สดับมาก 1 เป็นผู้ปรารภ
ความเพียร 1 มีปัญญา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
5 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า.
จบสารัชชสูตรที่ 8

9. อุทายิสูตร


ว่าด้วยองค์คุณแห่งพระธรรมกถึก


[159] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
ใกล้เมืองโกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีอันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม
แล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์
* อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น