เมนู

อรรถกถามิตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมิตตสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กมฺมนฺตํ ได้แก่ ใช้ให้ทำการงานมีทำนาเป็นต้น.
บทว่า อธิกรณํ อาทิยติ ได้แก่ ก่ออธิกรณ์ 4. บทว่า ปาโมกฺเขสุ
ภิกฺขูสุ
ได้แก่ ในภิกษุผู้เป็นทิศาปาโมกข์คือหัวหน้า. บทว่า ปฏิวิรุทฺโธ
โหติ
ได้แก่ เป็นผู้ขัดแย้งกันเพราะถือว่าเป็นศัตรู. บทว่า อวฏฺฐานจาริกํ
ได้แก่ เที่ยวไปไม่มีจุดหมาย.
จบอรรถกถามิตตสูตรที่ 6

7. อสัปปุริสทานสูตร


ว่าด้วยทานของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ


[147] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ อสัตบุรุษย่อมให้โดยไม่เคารพ 1 ให้โดยไม่อ่อนน้อม 1 ไม่ให้
ด้วยมือตนเอง 1 ให้ของที่เป็นเดน 1 ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงให้ 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ สัตบุรุษย่อมให้โดยเคารพ 1 ให้โดยอ่อนน้อม 1 ให้ด้วยมือตนเอง 1
ให้ของไม่เป็นเดน 1 เห็นผลที่จะมาถึงให้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริส-
ทาน 5 ประการนี้แล.
จบอสัปปุริสทานสูตรที่ 7

อรรถกถาอสัปปุริสทานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอสัปปุริสทานสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสกฺกจฺจํ ทานํ เทติ ได้แก่ หาเคารพคือทำใจให้สะอาด
ให้ทานไม่. บทว่า อจิตฺตึ กตฺวา เทติ ได้แก่ ให้ด้วยอาการไม่ยำเกรง
โดยความไม่เคารพ. บทว่า อปวิฏฺฐํ เทติ ได้แก่ ไม่ให้ส่ง ๆ ไป. อีกอย่างหนึ่ง
ให้เหมือนประสงค์จะทิ้ง. บทว่า อนาคมนทิฏฐิโก เทติ ได้แก่ หาทำ
ความเห็นผลกรรมกันมาอย่างนี้ว่า ผลแห่งกรรมที่ทำจักมาถึงดังนี้ให้เกิดขึ้นไม่.
ในฝ่ายขาวพึงทราบวินิจฉัยดังนี้ บทว่า จิตฺตึ กตฺวา เทติ ได้แก่
เข้าไปตั้งความยำเกรงในไทยธรรมและในทักขิไณยบุคคลแล้วให้. ในสองอย่าง
นั้นบุคคลกระทำไทยธรรมให้ประณีต มีรสอร่อยแล้วให้ ชื่อว่า เข้าไปตั้งความ
ยำเกรงในไทยธรรม. บุคคลเลือกบุคคลแล้วให้ ชื่อว่า เข้าไปตั้งความยำเกรง
ในทักขิไณยบุคคล. บทว่า สหตฺถา เทติ ความว่า ไม่ใช้มือของคนอื่น
ให้ตามคำสั่ง ให้ด้วยมือของตนเองเท่านั้น ด้วยคิดว่า ชื่อว่า เวลาที่เรา
ท่องเที่ยวไปในสงสารอันไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว ได้ใช้มือและเท้านั้น
ไม่มีประมาณเลย เราจักทำความหลุดพ้นไปจากวัฏฏะ ความออกไปจากภพ
ดังนี้. บทว่า อาคมนทิฏฺฐิโก ได้แก่ เชื่อกรรมและวิบากว่าจักเป็นปัจจัย
แห่งภพในอนาคตแล้วให้ ดังนี้.
จบอรรถกถาอสัปปุริสทานสูตรที่ 7