เมนู

อรรถกถามิตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมิตตสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กมฺมนฺตํ ได้แก่ ใช้ให้ทำการงานมีทำนาเป็นต้น.
บทว่า อธิกรณํ อาทิยติ ได้แก่ ก่ออธิกรณ์ 4. บทว่า ปาโมกฺเขสุ
ภิกฺขูสุ
ได้แก่ ในภิกษุผู้เป็นทิศาปาโมกข์คือหัวหน้า. บทว่า ปฏิวิรุทฺโธ
โหติ
ได้แก่ เป็นผู้ขัดแย้งกันเพราะถือว่าเป็นศัตรู. บทว่า อวฏฺฐานจาริกํ
ได้แก่ เที่ยวไปไม่มีจุดหมาย.
จบอรรถกถามิตตสูตรที่ 6

7. อสัปปุริสทานสูตร


ว่าด้วยทานของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ


[147] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ อสัตบุรุษย่อมให้โดยไม่เคารพ 1 ให้โดยไม่อ่อนน้อม 1 ไม่ให้
ด้วยมือตนเอง 1 ให้ของที่เป็นเดน 1 ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงให้ 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ สัตบุรุษย่อมให้โดยเคารพ 1 ให้โดยอ่อนน้อม 1 ให้ด้วยมือตนเอง 1
ให้ของไม่เป็นเดน 1 เห็นผลที่จะมาถึงให้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริส-
ทาน 5 ประการนี้แล.
จบอสัปปุริสทานสูตรที่ 7