เมนู

อรรถกถาติกัณฑกีสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในติกัณฑกีสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปฏิกูเล ได้แก่ ในอารมณ์อันไม่ปฏิกูล. บทว่า
ปฏิกูลสญฺญี ได้แก่ มีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ปฏิกูล. ในบททั้งปวงก็นัยนี้
เหมือนกัน. ถามว่า ก็ภิกษุนี้อยู่อย่างนี้ได้อย่างไร. ตอบว่า ภิกษุขยายไปใน
วัตถุที่น่าปรารถนาโดยความเป็นของไม่งาม หรือน้อมนำเข้าไปโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่ามีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นปฏิกูลด้วยอาการ
อย่างนี้อยู่. ภิกษุขยายไปในวัตถุอันไม่น่าปรารถนาโดยเมตตาหรือน้อมนำ
เข้าไปโดยเป็นธาตุ ชื่อว่ามีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลด้วยอาการ
อย่างนี้อยู่. ก็ในทั้งสองอย่างนี้ท่านกล่าวถึงตติยวารและจตุตถวารโดยนัยต้น
และนัยหลัง. ท่านกล่าวนัยที่ 5 ด้วยฉฬังคุเบกขา ก็ฉฬังคุอุเบกขานี้ คล้ายกับ
อุเบกขาของพระขีณาสพ แต่ไม่ใช่อุเบกขาของพระขีณาสพ. ในบทเหล่านั้น
บทว่า อุเปกฺขโก วิหเรยฺย ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง. บทว่า
กฺวจินิ ได้แก่ ในอารมณ์ไร ๆ. บทว่า กตฺถจิ ได้แก่ ในถิ่นที่ไร ๆ.
บทว่า กิญฺจินา คือ แม้มีประมาณน้อยไร ๆ. ในสูตรนี้ตรัสวิปัสสนาอย่างเดียว
ในฐาน 5 ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุรูปหนึ่งผู้ปรารภวิปัสสนาก็บำเพ็ญวิปัสสนา
นั้นได้ แม้สมณะผู้เป็นพหูสูต มีญาณ มีปัญญายิ่งนัก ก็บำเพ็ญได้ พระ-
โสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามี ย่อมทำได้ทั้งนั้น พระขีณาสพ
ไม่ต้องพูดแล.
จบอรรถกถาติกัณฑกีสูตรที่ 4