เมนู

ปัญจังคิกวรรควรรณนาที่ 3


อรรถกถาปฐมคารวสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมคารวสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 ดังต่อ
ไปนี้ :-
บทว่า อสภาควุตฺตโก ได้แก่ ประกอบด้วยการดำเนินชีวิตที่ไม่
เท่ากันไม่เสมอกัน. บทว่าอภิสมาจารกํ ธมฺมํ ได้แก่ ศีลที่บัญญัติเป็นข้อวัตร
อันเป็นอภิสมาจารอย่างสูง. บทว่า เสกฺขํ ธมฺมํ ได้แก่ ศีลอันเป็นข้อบัญญัติ
ของพระเสกขะ. บทว่า สีลานิ ได้แก่ มหาศีล 4. บทว่า สมฺมาทิฏฐึ
ได้แก่ สัมมาทิฏฐิชั้นวิปัสสนา. บทว่า สมฺมาสมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิ
เละผลสมาธิ. ในสูตรนี้ตรัสศีลเป็นต้นเจือกัน.
จบอรรถกถาปฐมคารวสูตรที่ 1

2. ทุติยคารวสูตร


ว่าด้วยฐานะและไม่ใช่ฐานะ


[22] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง
ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมา-
จาริกวัตร ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม
คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์

ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์
แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่
รักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่เจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุมีที่เคารพ มีที่ยำเกรง มีความประพฤติ
เสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้
บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริก-
วัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็น
ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษา
ศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุรักษาศีลขันธ์ให้
บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่
ภิกษุเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้.
จบทุติยคารวสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยคารวสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยคารวสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่าสีลกฺขนฺธํ ได้แก่กองศีล. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือน
กัน. แต่ตรัสขันธ์แม้ 3 อย่างเหล่านี้เจือกัน.
จบอรรถกถาทุติยคารวสูตรที่ 2