เมนู

อรรถกถาปฐมปัตถนาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัตถนาสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เนคมชานปทสฺส ได้แก่ ของชนผู้อยู่ในนิคมและผู้อยู่ใน
แว่นแคว้น. ด้วยบทว่า หตฺถิสฺมี เป็นต้น ทรงแสดงศิลปะสำคัญ 16
ประการ มีศิลปะเกี่ยวกับช้าง ม้า รถ ธนู จารึก และคำนวณเป็นต้น.
บทว่า อนวโย ได้แก่ สำเร็จ บริบูรณ์. คำที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถาปฐมปัตถนาสูตรที่ 5

6. ทุติยปัตถนาสูตร


ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่และภิกษุ


[136] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้
กษัตริย์ได้มูรธาภิเษก ทรงประกอบด้วยองค์ 5 ประการ ย่อมทรงปรารถนา
เป็นอุปราช องค์ 5 ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระ-
ราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดา
ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ
อันใคร ๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ 1 ทรงมีพระรูปสวย
งาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง 1 ทรงเป็น
ที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดาพระบิดา 1 ทรงเป็นที่รักที่พอใจแห่งกอง

ทหาร 1 ทรงเฉียบแหลม ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต
อนาคต และปัจจุบัน 1 พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ย่อมทรงดำริอย่างนี้ว่า
เราแลเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือ
ปฏิสนธิหมดจดดีตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ อันใคร ๆ จะคัดค้าน ตำหนิ
โดยอ้างถึงชาติไม่ได้ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นผู้มี
รูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ไฉนเราจะ
ไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยแห่งพระ
มารดาพระบิดา ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นที่รักที่พอ
ใจแห่งกองทหาร ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นผู้เฉียบ
แหลม ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน
ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรส
องค์ใหญ่ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์ 5 ประการ
นี้แล ย่อมทรงปรารถนาเป็นอุปราช ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
ปรารถนาความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 1
เป็นพหูสูต ฯ ล ฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ 1 เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
ในสติปัฏฐานทั้งสี่ 1 เป็นผู้ปรารถนาความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม 1 เป็นผู้มีปัญญา ฯ ล ฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ 1 เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เราแลเป็นผู้มีศีล ฯ ล ฯ สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เรา
แลเป็นพหูสูต ฯ ล ฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนา

ความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐานทั้ง 4 ไฉน
เราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯ ล ฯ
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เรา
แลเป็นผู้มีปัญญา ฯ ล ฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่พึง
ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล
ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ.
จบทุติยปัตถนาสูตรที่ 6

อรรถกถาทุติยปัตถนาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปัตถนาสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปรชฺชํ ได้แก่ความเป็นอุปราช.
จบอรรถกถาทุติยปัตถนาสูตรที่ 6

7. อัปปสุปติสูตร


ว่าด้วยคนหลับน้อยตื่นมาก 5 จำพวก


[137] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน 5 จำพวกนี้ ย่อมหลับน้อยตื่น
มากในราตรี 5 จำพวกเป็นไฉน คือ สตรีผู้คิดมุ่งถึงบุรุษ 1 บุรุษผู้คิดมุ่ง
ถึงสตรี 1 โจรผู้คิดมุ่งลักทรัพย์ 1 พระราชาผู้ทรงบำเพ็ญพระราช-
กรณีย์ 1 ภิกษุผู้คิดมุ่งถึงธรรมที่ปราศจากสังโยชน์ 1
ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คน 5 จำพวก นี้แล ย่อมหลับน้อยตื่นมากในราตรี.
จบอัปปสุปติสูตรที่ 7