เมนู

บทว่า อสฺสวาย ความว่า เมื่อพระราชทานทรัพย์แม้มากแก่ใคร ๆ
เสนาไม่เชื่อฟัง เสนานั้นชื่อว่า เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง แม้จะมิได้พระราชทาน
แก่ใคร ๆ เสนาก็เชื่อฟัง เสนานี้ชื่อว่าเป็นผู้เชื่อฟัง. บทว่า โอวาทปฏิการาย
ความว่า ผู้กระทำตามพระโอวาทที่พระราชทานว่า ท่านทั้งหลายพึงทำสิ่งนี้
ไม่พึงทำสิ่งนี้. บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.
บทว่า พฺยตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นผู้ฉลาดคือปัญญา. บทว่า
เมธาวี ได้แก่ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้เกิดตำแหน่ง. บทว่า ปฏิพโล
ได้แก่ สามารถ. บทว่า อตฺเถ จินฺเตตุํ ได้แก่ เพื่อคิดเอาประโยชน์คือ
ความเจริญ. ความจริง พระราชานั้นทรงดำริโดยอิงประโยชน์ปัจจุบันนั่นแหละ
ว่า แม้ในอดีตก็ได้มีแล้วอย่างนี้ ถึงในอนาคตก็จักมีอย่างนี้. บทว่า วิชิตาวีนํ
ได้แก่ ผู้มีชัยชนะที่ทรงชนะวิเศษแล้ว หรือทรงประกอบด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่.
บทว่า วิมุตฺตจิตฺตานํ ได้แก่ ผู้มีใจหลุดพ้นด้วยวิมุตติ 5.
จบอรรถกถายัสสทิสสูตรที่ 4

5. ปฐมปัตถนาสูตร


ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่และภิกษุ


[135] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา
ผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ 5 ประการ ย่อมทรง
ปรารถนาราชสมบัติ องค์ 5 ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่
ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ ย่อมทรงเป็นอุภโตสุชาติ
ทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด

7 ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใคร ๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติ
ไม่ได้ 1 ทรงมีพระรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณ
ผุดผ่องดียิ่ง 1 ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดาพระบิดา 1
ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งชาวนิคมชนบท 1 ทรงศึกษาสำเร็จดีแล้วใน
ศิลปศาสตร์แห่งพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว เช่นในศิลปศาสตร์ใน
เพราะช้าง ม้า รถ หรือธนู 1 พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้นย่อมทรงดำริ
อย่างนี้ว่า เราแลเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดามีพระครรภ์
เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใคร ๆ จะคัดค้าน
ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า
เราแลเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง
ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่ง
พระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็น
ที่รักเป็นที่พอใจแห่งชาวนิคมชนบท ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า
เราแลเป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีแล้วในศิลปศาสตร์ แห่งพระราชาผู้กษัตริย์ ได้
มูรธาภิเษกแล้ว เช่นในศิลปศาสตร์ในเพราะช้าง ม้า รถ หรือธนู ไฉน
เราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรส
องค์ใหญ่ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์ 5
ประการนี้แล ย่อมทรงปรารถนาราชสมบัติ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
ปรารถนาความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ของตถาคต
ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบาน
แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม 1 เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วย

ไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง
ควรแก่การบำเพ็ญเพียร 1 เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตาม
เป็นจริงในพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้แจ้ง 1 เป็นผู้ปรารภความ
เพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง
มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม 1 เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเครื่องหยั่งเห็นความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรก
กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ 1 เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มี
ศรัทธา เชื่อต่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ไฉนเราจะไม่พึง
ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบ
ด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง
ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแล
เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดาหรือเพื่อน
พรหมจรรย์ผู้รู้แจ้ง ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็น
ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง
มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนา
ความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง
หยั่งเห็นความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล
ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ.
จบปฐมปัตถนาสูตรที่ 5

อรรถกถาปฐมปัตถนาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัตถนาสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เนคมชานปทสฺส ได้แก่ ของชนผู้อยู่ในนิคมและผู้อยู่ใน
แว่นแคว้น. ด้วยบทว่า หตฺถิสฺมี เป็นต้น ทรงแสดงศิลปะสำคัญ 16
ประการ มีศิลปะเกี่ยวกับช้าง ม้า รถ ธนู จารึก และคำนวณเป็นต้น.
บทว่า อนวโย ได้แก่ สำเร็จ บริบูรณ์. คำที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถาปฐมปัตถนาสูตรที่ 5

6. ทุติยปัตถนาสูตร


ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่และภิกษุ


[136] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้
กษัตริย์ได้มูรธาภิเษก ทรงประกอบด้วยองค์ 5 ประการ ย่อมทรงปรารถนา
เป็นอุปราช องค์ 5 ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระ-
ราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดา
ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ
อันใคร ๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ 1 ทรงมีพระรูปสวย
งาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง 1 ทรงเป็น
ที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดาพระบิดา 1 ทรงเป็นที่รักที่พอใจแห่งกอง