เมนู

ราชวรรควรรณนาที่ 4


อรรถกถาจักกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในจักกสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ โดยกุศลธรรม 10. บทว่า จกฺกํ ได้แก่
อาณาจักร. บทว่า อตฺถญฺญู ได้แก่ รู้ประโยชน์แห่งราชสมบัติ. บทว่า
ธมฺมญฺญู ได้แก่ รู้ธรรมคือประเพณี. บทว่า มตฺตญฺญู ได้แก่ รู้ประมาณ
ในการลงราชอาชญาหรือในการเก็บภาษีอากร. บทว่า กาลญฺญู ได้แก่ รู้เวลา
เสวยสุขในราชสมบัติ เวลากระทำการวินิจฉัย และเวลาเสด็จจาริกไปในชนบท.
บทว่า ปริสญฺญู ได้แก่ รู้ว่า นี้ชุมนุมกษัตริย์ นี้ชุมนุมพราหมณ์ นี้ชุมนุม
แพศย์ นี้ชุมนุมศูทร นี้ชุมนุมสมณะ.
ในตถาคตวาร พึงทราบเนื้อความดังนี้. บทว่า อตฺถญฺญู ได้แก่
รู้อรรถ 5. บทว่า ธมฺมญฺญู ได้แก่ รู้ธรรม 4. บทว่า มตฺตญฺญู ได้แก่
รู้ประมาณในการรับและบริโภคปัจจัย 4. บทว่า กาลญญู ได้แก่ รู้กาล
อย่างนี้ว่า นี้เวลาหลีกเร้น นี้เวลาเข้าสมาบัติ นี้เวลาแสดงธรรม นี้เวลาจาริก
ไปในชนบท. บทว่า ปริสญฺญู ได้แก่ รู้ว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ฯลฯ นี้บริษัท-
สมณะ. บทว่า อนุตฺตรํ ได้แก่ ยอดเยี่ยมโดยโลกุตรธรรม 9. บทว่า
ธมฺมจกฺกํ ได้แก่ จักรอันประเสริฐที่สุด.
จบอรรถกถาจักกสูตรที่ 1