เมนู

9. ตติยหิตสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น


[19] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม
5 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ ไม่เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อม
ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
จบตติยหิตสูตรที่ 9
ในตติยหิตสูตรที่ 9 ตรัสถึงภิกษุทุศีลเป็นผู้มีสุตะน้อย.

10. จตุตถหิตสูตร


ว่าด้วยผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น


[20] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม

5 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นใน
การถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อม
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
จบจตุตถหิตสูตรที่ 10
จบพลวรรคที่ 2

อรรถกถาจตุตถหิตสูตร


ในจตุตถหิตสูตรที่ 10 ท่านกล่าวถึงพระขีณาสพเป็นผู้มีสุตะมาก.
จบอรรถกถาจตุตถหิตสูตรที่ 10
จบพลวรรควรรณนาที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อนนุสสุตสูตร 2. กูฏสูตร 3. สังขิตตสูตร 4. วิตถตสูตร
5. ทัฏฐัพพสูตร 6. ปุนกูฏสูตร 7. ปฐมหิตสูตร 8. ทุติยหิตสูตร
9. ตติยหิตสูตร 10. จตุตถหิตสูตร และอรรถกถา.