เมนู

ดูก่อนอานนท์ พวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ ๆ
เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในธรรม 5 ประการ
แล.
จบอันธกวินทสูตรที่ 4

อรรถกถาอันธกวินทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอันธกวินทสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีลวา โหถ ความว่า จงเป็นผู้มีศีล. บทว่า อารกฺขสติโน
ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา. บทว่า นิปกสติโน ความว่า
มีสติประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องรักษานั่นแหละ. บทว่า สตารกฺเขน เจตสา
สมนฺนาคตา
ความว่า ประกอบด้วยจิตที่มีเครื่องรักษาคือสติ. บทว่า อปฺป-
ภสฺสา
แปลว่า พูดแต่น้อย. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิกา ความว่า ประกอบ
ด้วยสัมมาทิฏฐิ 5 อย่าง คือ กัมมัสสกตา 1 ฌาน 1 วิปัสสนา 1
มรรค 1 ผล 1. อีกอย่างหนึ่ง แม้ปัจจเวกขณญาณ ก็พึงทราบว่า เป็น
สัมมาทิฏฐิเหมือนกัน.
จบอรรถกถาอันธกวินทสูตรที่ 4

5. มัจฉริยสูตร


ว่าด้วยธรรมทำให้ภิกษุณีเหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์


[115] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีเป็นผู้
ตระหนี่ที่อยู่ 1 ตระหนี่สกุล 1 ตระหนี่ลาภ 1 ตระหนี่วรรณะ 1 ตระหนี่
ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล
เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือน
เชิญมาอยู่ในสวรรค์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีย่อมไม่เป็นผู้
ตระหนี่ทีอยู่ 1 ไม่ตระหนี่สกุล 1 ไม่ตระหนี่ลาภ 1 ไม่ตระหนี่วรรณะ 1
ไม่ตระหนี่ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
นี้แล เหมือนเชิญมาอยู่ในสวรรค์.
จบมัจฉริยสูตรที่ 5

อรรถกถามัจฉริยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉริยสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาวาสมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่อาวาส คือ เห็นผู้อื่น
อยู่ในอาวาสนั้น ทนไม่ได้. บทว่า กุลมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่ตระกูล
อุปัฏฐาก คือ เห็นผู้อื่นเข้าไปหาตระกูลนั้น ทนไม่ได้. บทว่า ลาภมจฺฉรินี
ความว่า ย่อมตระหนี่ลาภ คือ เห็นลาภเกิดแก่ผู้อื่น ทนไม่ได้. บทว่า วณฺณ-
มจฺฉรินี
ความว่า ย่อมตระหนี่คุณความดี คือ เห็นเขากล่าวคุณความดีของ
ผู้อื่น ทนไม่ได้. บทว่า ธมฺมมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่ปริยัติธรรม คือ
ไม่ปรารถนาจะให้แก่ผู้อื่น.
จบอรรถกถามัจฉริยสูตรที่ 5