เมนู

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง
อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.
พ. พึงมี อานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพระอธิศีล ฯ ล ฯ เป็นผู้ได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็น
เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน และย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.
ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกล่าวได้ว่า ธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุก
อย่างอื่น ที่ดีกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกเช่นนี้ ย่อมไม่มี.
จบอานันทสูตรที่ 6

อรรถกถาอานันทสูตร


พึงทราบวินิจฉัย ในอานันทสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โน จ ปรํ อธิสีเล สมฺปวตฺตา โหติ ความว่าไม่ติ-
เตียน ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น ถึงเรื่องศีล. บทว่า อตฺตานุเปกฺขี ได้แก่ คอยเพ่ง
ดูตน โดยรู้กิจที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำ. บทว่า โน ปรานุเปกฺขี ได้แก่
ไม่มัวสนใจในกิจที่ผู้อื่นทำและยังไม่ได้ทำ. บทว่า อปฺปญฺญาโต ได้แก่
ไม่ปรากฏ (ไม่มีชื่อเสียง) คือมีบุญน้อย. บทว่า อปฺปญฺญาตเกน ได้แก่
เพราะความเป็นผู้ไม่ปรากฏคือไม่มีชื่อเสียง มีบุญน้อย. บทว่า โน ปริตสฺสติ
ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้ง. ด้วยสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะพระ
ขีณาสพเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ 6

7. สีลสูตร


ว่าด้วยคุณสมบัติของสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ


[107] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้
ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม 5 ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล 1 เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยสมาธิ 1 เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา 1 เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ 1
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น
ยิ่งกว่า.
จบสีลสูตรที่ 7

อรรถกถาสีลสูตร


สีลสูตรที่ 7

ตรัสศีล สมาธิ และปัญญาเจือกัน. วิมุตติ คือ อรหัตผล
วิมุตติญาณทัสสนะ คือ ปัจจเวกขณเป็นโลกิยะอย่างเดียว.
จบอรรถกถาสีลสูตรที่ 7